วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

ดอกไม้ไทย

ดอกไม้ไทย


ไม้ดอกชนิดเป็นพุ่ม


กรรณิการ์

เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2 เมตร ลำต้นและกิ่งเป็นเหลี่ยม ใบเป็นชนิดใบเดี่ยวออกเป็นคู่ เรียงตรงข้าม ใบทรงรูปไข่ ขอบใบเรียบหรือมีจักเล็กน้อย


ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เป็นดอกเดี่ยวมีโคนกลีบติดกัน มีลักษณะเป็นหลอดสีส้ม กลีบดอกแคบ ปลายกลีบสีขาวและไม่เสมอกัน จะมีกลิ่นหอมตอนกลางคืน และดอกจะร่วงหมดในตอนเช้า ผลมีลักษณะเป็นแผ่นแบน ภายในมีเมล็ดอยู่ 2 เมล็ด

ขยายพันธุ์โดยการตอนหรือปักชำ
 
 
 
กระดังงาสงขลา


 
  เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2 เมตร ใบเป็นชนิดใบเดี่ยวยาว กลีบรองดอกมีสามกลีบ สีเขียว มีขนาดสั้น กลีบใบเรียวสองชั้น ชั้นนอกมี 5 กลีบ ชั้นในมี 15 กลีบ ปลายกลีบเรียวแหลมโคนกลีบด้านในมีแต้มสีน้ำตาล ที่ฐานกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียติดอยู่


กระดังงา ออกดอกตลอดปี มีกลิ่นหอมอบอวล

ขยายพันธุ์ด้วยการตอน  
 
กระดุมทอง
 


เป็นไม้ล้มลุกพุ่มเตี้ย สูงประมาณ 50 เซนติเมตร ลำต้นมีขนทึบใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้าม สัณฐานใบเป็นรูปไข่ หรือรูปรีกว้าง ใบกว้างประมาณ 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ปลายแหลมโคนสอบ ขอบเรียบหรือหยักซี่ฟัน ผิวใบมีขนสากทั้ง 2 ด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 1 เส้น ก้านใบสั้นมีครีบ มีขนตามก้านใบและขอบครีบ ช่อดออกดอกเดี่ยว ๆ หรือออกเป็นคู่ ตามง่ามใบใกล้ยอดดอกโตประมาณ 3 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 1-8 เซนติเมตร โคนช่อมีใบประดับมีขนเรียงกันถี่ โคนใบประกอบชั้นนอกใหญ่ขึ้นเมื่อดอกร่วงไป ดอกวงนอกเป็นดอกตัวเมีย มีประมาณ 10 ดอก กลีบดอกสีเหลืองรูปรี กว้างประมาณ 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7 เซนติเมตร รังไข่เล็ก ดอกวงในเหมือนดอกตัวเมีย แต่รังไข่ไม่สมบูรณ์ ดอกตัวผู้มีขนาดเล็กมากและเป็นหมัน อยู่กลางกระจุกดอก ผลมีสัณฐานเป็นรูปสามเหลี่ยม ยอดแบน เมล็ดเล็กสีดำเป็นมัน ยาวประมาณ 3 เซนติเมตรขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด อกแบบช่อกระจุก
 
 
 



กุหลาบ
 

เป็นไม้พุ่มตั้งหรือเลื้อย ใบเป็นใบประกอบ ประกอบด้วย 3 ใบ หรือ 5 ใบ ขอบใบจัก หูใบติดกับก้านใบหรือเป็นอิสระ


ดอกออกที่ปลายกิ่ง มีทั้งดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ กลีบรองดอกเป็นรูปถ้วยสีเขียว ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกปกติมี 5 กลีบ เกสรตัวเมียอยู่กลางดอกเป็นผลกลม ภายในมีเมล็ดแข็งจำนวนมาก เกสรตัวผู้มีอยู่เป็นจำนวนมาก กุหลาบมีหลายชนิด หลายพันธุ์ ส่วนใหญ่ดอกมีกลิ่นหอมเย็น

การขยายพันธุ์มีหลายแบบ เช่น เพาะเมล็ด ตอน ติดตา และปักชำ
 


...กุหลาบหอมหวล ส่งกลิ่นยียวนแสนยวนยั่วหัวใจ


ทั้งหอมทั้งหวาน ดอกเพิ่งบานใหม่ ๆ ...

...ฉันมั่นใจกุหลาบเป็นไม้งามละม่อม ควรจะออมถนอมชม

ทุก ๆ คนพอใจมักเด็ดเอาไปดอมดม หรือจะชมเสียบผมชื่นอุรา

สวยสีสรรค์ทุก ๆ พรรณสุดจะเด่น กลิ่นเยือกเย็นสีที่เห็นไม่บาดตา

กลีบเกสรกลีบอ่อนซ้อนกันดูงามสง่า ทุกเวลารวยรื่นนาสาน่าดม...

...ริมธารละลานไปด้วยบุปผา ดอกแดงกุหลาบพนาสลับลัดดากล้วยไม้ไพร...

การเลี้ยงปลา

การเลี้ยงปลา
ปลามี2ชนิดคือ
1.ปลามีเกล็ด

2.ปลาไม่มีเกล็ด

แมว

แมว



ถิ่นกำเนิดของ American Curl


ในเดือน มิถุนายน ปี ค.ศ.1981 ในวัฒนธรรมแห่งสหรัฐอเมริกาสมัยใหม่ แมวพันธุ์ American Curl ถูกค้นพบใน ชุมชน California ของ Lakewood ของผู้อาศัยอยู่ที่ชื่อ Joe และ Grace Ruga (Curlniques Cattery) Joe กลับจากทำงานตอนเย็นนั้นและพบลูกแมว 2 ตัวอายุ 6 เดือนภายนอกบ้านของเขา จึงรับมาเลี้ยงดู พวกเขาตั้งข้อสังเกตว่าพวกมันมีหูที่เป็นวงนั้นจากหลังถึงหัว ดูแล้วเป็นที่น่าขัน ลูกแมวตัวที่เป็นพี่ มีสีดำกับขนยาวและอีกตัวหนึ่ง มีขนสีดำ และสีขาวและขนกึ่งยาว ทั้ง สองมีขนนุ่มเป็นมันเรียบคล้ายไหม ลูกแมวทั้งสองถูกตั้งชื่อว่าShulamith และ Panda ในเดือนธันวาคม ค.ศ.1981 หลังการตกลูกครอกแรกของ Shulamith พวกเขาจึงได้มองเห็นถึงการมีใบหูที่มีลักษณะที่พิเศษไม่เหมือนใครของมัน แสดงถึง

การค้นพบพันธุ์ใหม่ของแมว พวกเขาเริ่มต้นการวิจัยและการทดสอบเพาะพันธุ์โดยทันที ซึ่งนำมาสู่ การยอมรับและได้รับการจดทะเบียนเป็นแมวพันธุ์ใหม่ของโลกในปี ค.ศ.1986 ซึ่งแมวพันธุ์นี้ถือว่าเป็นแมวที่สามารถแบ่งพันธุ์ได้ทั้งสองชนิดคือมีทั้ง แบบ Shorthairและ longhair



ลักษณะโดยทั่วไป

ลักษณะพิเศษของ American Curl ที่ดึงดูดใจก็คือ หู เป็นวงหูอย่างมีอันเดียว เป็นลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนแมวพันธุ์อื่น American Curl ที่เป็นพันธุ์ดั้งเดิม ตัวเมียที่เป็นชนิด longhaired ที่เรียกว่า Shulamith แรกบันทึกในCalifornia ทางใต้ในปี

1981 การเพาะพันธุ์แบบเลือกได้เริ่มต้นในปี 1983ทำให้มีหู เป็นวงอย่างสม่ำเสมอดี มีกล้ามเนื้อที่สมบูรณ์เหมาะสม, เรียวมากกว่าที่เป็นก้อนใหญ่โต ตัวเมียหนัก 5 ถึง 8 ปอนด์ ตัวผู้หนัก 7 ถึง10 ปอนด์ , สัดส่วนเหมาะสมและสมดุลสำคัญกว่าขนาด ตัวผู้จะมีลักษณะ สวยงามและสง่างามกว่าตัวเมีย



ศีรษะ



รูปร่าง: เป็นรูปลิ่มไม่แบนราบ อย่างพอประมาณยาวกว่ากว้าง ระนาบราบรื่น

โครงร่าง: จมูกมี ความยาวและตรงพอประมาณ และนูนล็กน้อยขี้นจากด้านล่างของตาถึงหน้าผาก เส้นโค้งที่ได้รูปไปถึงด้านบนสุดของหัว ไปจนถึงใต้ลำคอ

ขนาด: ปานกลางในสัดส่วนเมื่อเทียบกับร่างกาย

คาง: แน่น แข็ง,แนวเดียวกับจมูกและริมฝีปากล่าง

ใบหู



องศา: น้อยที่สุด 90 ส่วนโค้งองศาเป็นวง ไม่เกิน 180 องศา แน่นด้วย cartilage จากพื้นฐานหูถึงอย่างน้อย 1/3 ของความสูง

รูปร่าง: กว้างที่ฐานและเปิด, เส้นโค้งหลังในส่วนโค้งราบเรียบเมื่อดูจากด้านหน้าและด้านหลัง

ขนาด: ใหญ่อย่างพอประมาณ

ที่ตั้ง: ตั้งตรงอยู่บริเวณส่วนบนแต่ละด้านของหัวอย่างเท่าๆกัน

หมายเหตุ: เมื่อหูมีการตื่นตัวเกิดขึ้น หูจะเหยียดชี้ตรงไปด้านหน้า, เส้นตามความโค้งของหูจะชี้ไปยังศูนย์กลางฐานของกระโหลกศีรษะ(เส้นโค้งที่ลาก ผ่าน ตามความโค้งของหูผ่านปลายสุดของหูเลย 90 และสูงถึง180 องศา อาจจะ intersect

ที่จุดไกลกว่าขึ้นบนกระโหลกศีรษะ แต่ไม่เลยจุดสูงสุดของกระโหลกศีรษะ)



ร่างกาย ดวงตาใหญ่ กลมรีเหมือนเมล็ดอัลมอน สี Hazel เขียว หรือเหลือง เท่านั้น มีเส้นสีดำ


รูปร่างลำตัว กึ่งต่างประเทศ เป็นสี่เหลียมผืนผ้า, ความยาว 1 และ 1 ใน 2 ความสูงที่บ่า,ความลึกกลางของหน้าอกและสีข้าง

ขนาด ปานกลาง, แต่ตัวผู้มักขนาดใหญ่กว่า

ลักษณะกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงพอประมาณและน้ำเสียงมีการ เปลี่ยนแปลง

หาง งอได้, กว้างที่ฐาน,เรียวเท่าตลอดความยาวร่างกาย

ขา ความยาวปานกลางในสัดส่วนเพื่อร่างกายตั้งโดยตรงเมื่อดูจากด้านหน้าหรือด้านหลัง

ขนาดกระดูกปานกลางไม่ใหญ่และหนัก

คอ ปานกลาง

เท้า ปานกลาง



ลักษณะขนของ American Curl

Longhair



การทอของขน: นุ่มปานกลางเป็นมันคล้ายไหมปกคลุมทั่วร่างกาย

ความยาวขน: กึ่งยาว

ขนหาง: เต็มและแต่งคล้ายขนนก

Shorthair



การทอขอขน: อ่อนนุ่มเป็นมันคล้ายไหมปกคลุมทั่วร่างกาย ยืดหยุ่นได้โดยไม่รู้สึกทึบ หนาเกินไป

ความยาวขน: สั้น

ขนหาง: ความยาวเท่ากับความยาวขนที่ปกคลุมร่างกาย



สีของ American Curl



สีขาว: สีขาวประกายบริสุทธิ์ ปลายจมูกและอุ้งเท้าเป็นสีชมพู

สีดำ: สีดำถ่านหินทึบจากรากถึงปลายสุดของขน บริเวณหนังจมูกสีดำ ส่วนอุ้งเท้าเป็นสีดำหรือสีน้ำตาล

สีน้ำเงิน: สีน้ำเงิน , น้ำเงินสว่าง ระดับจากจมูกถึงปลายของหาง สีทึบได้รับการยอมรับกว่าสีสว่าง บริเวณหนังจมูกและอุ้งเท้าเป็นสีน้ำเงิน

สีแดง: ลึก, ฉูดฉาด, สดใส, ประกายสีแดงสว่างไสว ปราศจากเงามืดหรือสีอื่นเจือปน ริมฝีปากและคางสีเดียวกับขน บริเวณจมูกและอุ้งเท้าเป็นสีอิฐสีแดง

สีครีม: สีเงาหนึ่งระดับของครีมสีเหลืองอ่อน โดยปราศจากตำหนิ บริเวณหนังจมูกและอุ้งเท้าเป็นสีชมพู

สีช็อคโกแลต: สีน้ำตาลช็อคโกแลตอุ่น จากรากถึงปลายของขน บริเวณหนังจมูกและอุ้งเท้าเป็นสีน้ำตาล

สี LILAC: สีทึบ ปกคลุมด้วยสี lavender โทนสีชมพู หนังจมูกและอุ้งเท้าเป็นสีชมพู

CHINCHILLA สีเงิน: ผิวหนังใต้ขนบริสุทธิ์สีขาว ขนบนหลัง, สีข้าง, หัว, และหาง บริเวณปลายขนเป็นสีดำปรากฏเงินที่เป็นประกาย ขาอาจเป็นเงาเพียงเล็กน้อยบริเวณปลายขน ส่วนของคาง, หู , ท้อง, และหน้าอกมีสีขาว บริเวณขอบของตา, ริมฝีปาก, และจมูกเป็นสีดำ ส่วนหนังจมูกมีอิฐสีแดง และบริเวณอุ้งเท้าเป็นสีดำ



แมวพันธุ์ Singapura


ถิ่นกำเนิดของ Singapura

ชื่อพันธุ์ Singapura ตั้งตามถิ่นกำเนิดของแมวคือประเทศสิงคโปร์ นับว่าเป็นหนึ่งในชนิดที่หายาก และถือว่าพันธุ์ที่มีขนาดเล็กที่สุดอีกด้วย โดยมีนำหนักประมาณ 4-9 ปอนด์ และมีเพียงสี Sepia agouti เท่านั้น คือสีน้ำตาลแต้มบนสีงาช้าง มีเพียงหน้าและขาด้านในที่มีแถบสีเข้มอยู่เป็นแถบประวัติ

Singapura แมวพันธุ์ Singapura เป็นแมวพันธุ์พื้นเมืองของสิงคโปร์ และมีจำนวนไม่มาก บางครั้งถูกเรียกว่า Drain cat เนื่องจากอาศัยอยู่ตามท้องถนน แต่ลักษณะเฉพาะตัวของมันได้ไปต้องตา Hal กับ Tommy Meadow ขณะที่เขาได้อาศัยอยู่ในสิงคโปร์ และได้ถูกนำเข้าไปในสหรัฐอเมริกาครั้งแรกเมื่อปี 1971 และนำเข้าเรื่อยมาตั้งแต่ปี 1980 Singapura ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์จนเป็นที่รู้จักและได้รับรางวัลในปี 1988 และเนื่องจากไม่นิยมผสมข้ามพันธุ์ จึงมีเพียง 2000 ตัวในโลก


ลักษณะโดยทั่วไป


Singapura โดยทั่วไป เป็นแมวขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ร่าเริง แข็งแรง มีใบหูและดวงตาที่ใหญ่ และสีสันที่งดงาม แมวตัวเมียโตเต็มวัยอาจหนักเพียง 4 ปอนด์ขณะที่ตัวผู้อาจหนักถึง 6 ปอนด์ แม้ตัวเล็กแต่พวกมันก็ล่ำสัน กระฉับกระเฉง แข็งแรง ไม่ใช่พวกขี้โรคหรือบอบบาง

ศีรษะ กะโหลกกลม ระยะห่างตาพอดี ปากและจมูกกลมมน โหนกแก้มสูง

ใบหู ใหญ่และบอบบาง ฐานเปิดกว้าง เหมือนถ้วยก้นลึก ขอบใบหูแหลมเป็นมุม

ตา ดวงตาใหญ่ กลมรีเหมือนเมล็ดอัลมอน สี Hazel เขียว หรือเหลือง เท่านั้น มีเส้นสีดำ

ลำตัว ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เมื่อลำตัว ขากับพื้นจะเป็นรูปร่างสี่เหลี่ยม ล่ำสัน กระฉับกระเฉง

ลำคอ สั้น หนา พุ่งตรงไปข้างหน้า

ขาและเท้า อุ้งเท้าเล็ก ฝ่าเท้าสีน้ำตาลแดง มีขนสีน้ำตาลระหว่างนิ้วเท้า ตัดกับขาสีงาช้าง

หาง ยาวประมาณไหล่เมื่อวางพาดลำตัว ตั้งตรงไม่คดงอ ปลายมน

ขน ขนสั้นเกรียนติดผิวหนัง เรียบลื่นและแวววาว คล้ายกับที่พบในแมวพันธุ์ Abyssinian กระต่าย กระรอก ตัวโกเฟอร์ มีแถบสีที่ขาหน้าด้านในและเข่าหลัง

เสียง นุ่มและกังวาน

ลักษณะที่ให้โทษ เหลือบขนสีเทา โคนขนสีเทา แถบสีที่ขาหน้าด้านนอก มีเส้นรอบคอ ไม่มี Cheetah line หางเสียแต่ไม่เป็นที่สังเกต

ลักษณะที่ไม่คัดเลือก มีจุดขาว แถบสีที่หาง กระหม่อมบาง มีแถบที่คอไม่ครบหรือแถบรอบขา มีหูหรือดวงตาที่เล็กมากๆ หางเสีย ตาสีฟ้า สีขนสีอื่นนอกจากสี Sepia agouti



ลักษณะสีขน

Singapura มีเพียงสี Sepia agouti เท่านั้น คือสีน้ำตาลเข้มแต้มบนพื้นสีงาช้าง โดยแต้มสีน้ำตาลสลับกับแต้มสีงาช้างในเส้นขน ปลายขนสีเข้ม ปลายหางสีเข้ม ปากและจมูก แก้ม อก ท้อง และโคนขนเป็นสีผ้ามัสลินที่ยังไม่ฟอก บริเวณขาหน้าด้านในและเข่าด้านนอก มีแถบสีเข้มเป็นแถบๆ ซึ่งจะไม่พบในลูกแมว ขนระหว่างนิ้วเท้าเป็นสีน้ำตาล บริเวณหน้า คิ้วและมุมตาด้านนอกขอบตา ริมฝีปาก เครา เส้นจมูก สีน้ำตาลเข้ม มีเส้น Cheetah line จากมุมด้านในไปดั้งจมูก โหนกแก้มด้วยเช่นกัน จมูกสีชมพูอ่อนถึงแก่ ฝ่าเท้าสีน้ำตาลแดง



ลักษณะนิสัย

เป็นแมวที่ชอบความอบอุ่น นักล่าที่ดี ร่าเริง มีชีวิตชีวา สนใจสิ่งรอบข้าง ฉลาด ชอบอยู่ใกล้คนและไม่ก้าวร้าวกับสัตว์อื่น ชอบเล่นอะไรแปลก ๆ ชอบท่องเที่ยว ชอบนอนบนตัวคนและชอบอยู่ใต้ผ้าห่มผืนเดียวกัน

ปัญหาสุขภาพ

ไม่มีปัญหาเรื่องพันธุกรรม

การซื้อขาย

เนื่องจากแมวพันธุ์ Singapura เป็นพันธุ์ที่หายาก ราคาของแมวจะขึ้นอยู่กับชนิด แถบสีบนตัว Singapuraลักษณะ และสายพันธุ์ซึ่งรองรับโดย Grand Champion (GC), National or Regional winning parentage (NW or RW) or of Distinguished Merit parentage (DM) นักผสมพันธุ์จะคัดเลือกลูกแมวอายุ 12 สัปดาห์มาฝึก พัฒนาลักษณะและความเสถียรภาพทางอารมณ์เพื่อให้คุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมใหม่ การแสดงตัวหรือการขนส่งทางอากาศ



การเข้าร่วมสมาคม

แมวพันธุ์ Singapura ได้รับการยอมรับจากสถาบันแมวมากมาย

มาตรฐาน

ตามมาตรฐานของ TICA (The International Cat Association)

รูปร่างศีรษะ กะโหลกต้องกลม ไม่โดม ไม่แบน ดวงตาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม รูปร่างของศีรษะเป็นส่วนที่มีน้ำหนักมากที่สุดในการตัดสิน อาจยกเว้นเรื่องกรามในแมวตัวผู้ที่โตเต็มวัยแล้ว



หู ใหญ่ ชี้ในทิศทางที่เหมาะสม ฐานกว้างเหมือนถ้วยก้นลึก ซึ่งเหมาะกับลักษณะที่ใหญ่ ขนหลังใบหูสีอ่อน



ดวงตา ดวงตาใหญ่ รูปร่างรีเหมือนเม็ดอัลมอนด์ หนังตาสีเข้มขอบสีอ่อน ลายบนหน้าขับความเด่นให้ดวงตา ระยะห่างตาเหมาะสม ไม่แคบเกินไป สีตาต้องเป็นสีเขียว หรือสีเขียวคาเลโดเนีย สี Hazel สีทอง หรือทองแดง ไม่ใช่สีฟ้า เทา หรือฟ้าใส

แก้ม กลมมน

ปากและจมูก สั้นพอดีกัน จมูกมน ไม่เรียวหรือชี้ หรือเหมือนหมาป่า โหนกแก้มสูง

โครงร่าง สั้น

ลำคอ สั้นและหนา

ตัว กลางถึงเล็ก ลำตัว ขาและพื้นควรมองดูเป็นรูปสี่เหลี่ยมเมื่อมองจากไหล่ไปยังโคนหาง ขอบซี่โครงกลม หลังลาด

ขาและเท้า ขาหนักและสมส่วน เท้าเล็ก มน

หาง ยาวต่ำกว่าไหล่เมื่อวัดเทียบกับลำตัว พุ่งตรง เรียว ไม่คดงอ และปลายมน

กระดูก กล้ามเนื้อ ล่ำสันแต่ไม่อ้วน น้ำหนักไม่เกินพอดี คอและอกสมส่วน อาจจะเห็นสะโพกตรงเมื่อเทียบกับคอและไหล่ สิ่งนี้ไม่นับว่าผิดปกติในแมวรุ่น

ความยาวและผิว เรียบติดลำตัว ไม่มีจุดสี ขนลูกแมวอาจยาว

ลาย ลายหนา แต้มสีอ่อนและเข้มทั่วไป โคนขนสีอ่อน ปลายสีเข้ม มีลายที่หลัง ที่ว่างระหว่างหูควรมีสีเข้มและหนา ขนหน้าท้องบาง ความหนาของขนที่เป็นบางช่วงถือเป็นลักษณะเด่นของพันธุ์ มีแถบบนขาหน้าด้านในและเข่าซึ่งเป็นลักษณะเด่นเช่นกัน เห็นได้ชัดเมื่อโตเต็มวัย แถบด้านนอกขาหน้าถือว่าผิดปกติ มี Cheetah line ที่เห็นได้ชัด อาจพบลายตัว M บนหัว

สี สีพื้นสีงาช้างจนออกเหลือง ปากและจมูก แก้ม อก ท้อง และโคนขนเป็นสีผ้ามัสลินที่ยังไม่ฟอก จมูก สีชมพูอ่อนถึงแก่ บริเวณหน้า คิ้วและมุมตาด้านนอกขอบตา ริมฝีปาก เครา เส้นจมูก สีน้ำตาลเข้ม ฝ่าเท้าสีน้ำตาลเข้มโทนแดง ขนระหว่างนิ้วเท้าเป็นสีน้ำตาล ปลายหางสีเข้ม หูและดั้งจมูกสีชมพูแก่



ลักษณะที่เด่นคือสีเข้ม ประกายสว่าง แถบสีตัดกันอย่างชัดเจน ต้องไม่มีโทนสีเทา อาจยกเว้นได้ในลูกแมวซึ่งจะหายไปตามอายุ





สุนัขสายพันธุ์ต่างๆ

สุนัขสายพันธุ์ต่างๆ


1.พันธุ์ชิห์สุ

Shin Tzu สันนิษฐานว่าสุนัขพันธุ์ชิห์สุมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน โดยใช้เป็นสัตว์เลี้ยงของพระจักรพรรดิ์ และเชื้อพระวงศ์ในพระราชสำนักในราชวงศ์หมิงและราชวงศ์แมนจู หลังจากนั้นได้มีการนำมาเลี้ยงในที่ต่างๆ ทั่วอังกฤษและยุโรป



ลักษณะทั่วไป


เป็นสุนัขขนาดเล็ก ขนยาวจรดพื้น โครงสร้างมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวลำตัวมากกว่าความสูง กว้างและลึก เส้นกลางหลังตรงไม่โค้ง ศีรษะมีลักษณะกว้างกลม จมูกและปากสั้นยาวไม่เกิน 1 นิ้ว บริเวณหน้าไม่มีรอยย่น รอยต่อระหว่างปากและหน้าเป็นมุมหักที่ชัดเจน ตามีลักษณะกลมโต นัยน์ตาสีเข้ม ตาไม่ยื่นโปนออกมา หูมีขนาดใหญ่และยาวปรกลงทั้ง 2 ข้าง ฟันหน้าบนและล่างขบกันพอดี หรือฟันล่างขบอยู่ด้านนอก หางม้วนงอวางพาดอยู่บนแผ่นหลังและขนยาวปรกคลุม


นิสัย


ชิห์สุเป็นสุนัขที่มีนิสัยขี้เล่น อ่อนโยน ชอบเล่นกับเด็ก




ขนาด เพศผู้ เพศเมีย

ความสูง (เซนติเมตร) 9 - 11 9 - 11

น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) 4-7 4-7



ขน

สุนัขชิห์สุที่ดีควรมีขนที่ยาวจรดพื้น เส้นขนอ่อนนุ่ม ดกแน่น และมีลักษณะเหยียดตรงไม่หยิกงอ และขนชั้นในควรมีเส้นเล็กนุ่มและสั้นกว่าขนชั้นนอก ขนบริเวณศีรษะควรยาวจนสามารถรวบเป็นกระจุกได้





สี

มีได้หลายสี ตั้งแต่ สีขาว ดำ เทา น้ำตาล และเทาแกมแดง 2 - 3 สี และมักมีมาร์คกิ้งเป็นสีขาว บริเวณใบหน้า ไหล่ สะโพก และปลายหาง


ลักษณะบกพร่อง


1. ศีรษะเล็กและแคบเกินไป

2. ฟันหน้าชุดบนขบเกยอยู่ด้านนอกฟันล่าง

3. ขนสั้น หรือหยิก

4. จมูกและปากยาวเกินไป

5. ขนบางไม่ดกแน่น


2.พันธุ์ปอมเมอเรเนียน

ปอมเมอเรเนียนเป็นสุนัขพันธุ์เล็ก มีขนนุ่มปุกปุย มีหัวเป็นรูปลิ่ม หูตั้งชี้ขึ้น บรรพบุรุษปอมเมอเรนียนย้อนกลับไปถึงยุคก่อนคริสตกาล พบภาพวาดในแผ่นหินและรูปหล่อสัมฤทธิ์ตามโลงศพที่พบในอียิปต์ พบโครงกระดูกสุนัขพันธุ์เล็กคล้ายพันธุ์ปอมเมอเรเนียน ในอุโมงค์ที่บรรจุศพสมัยโบราณของชาวอียิปต์



เชื่อกันว่า ปอมเมอเรเนียนได้รับการพัฒนาให้เป็นปอมเมอเรเนียนในปัจจุบันครั้งแรกที่เมืองปอมเมอเรเนีย ประเทศเยอรมัน ตั้งอยู่ในยุโดรเหนือแถบทะเลบอลติก ดินแดนกว้างใหญ่จากตะวันตกของเกาะรูเกนถึงแม่น้ำวิทูลา ที่แห่งนี้มีการเลี้ยงสุนัขอย่างแพร่หลาย ทั้งเพื่อให้เป็นสัตว์และเพื่อให้เป็นสุนัขอารักขา ปอมเมอเรเนียนมีต้นกำเนิดจากพันธุ์สปิทซ์ในสมัยโบราณ บางคนเชื่อว่าสุนัขปอมเมอเรเนียนพัฒนาจากสุนัขพันธุ์ซามอยด์ ซึ่งมีต้นกำเนิดอยู่ที่ตอนเหนือของประเทศรัสเซียแถบไซบีเรีย บางคนเชื่อว่าพัฒนามาจากสุนัขป่า ซึ่งอาศัยอยู่ตามถ้ำในประเทศเยอรมัน และถูกนำมาใช้เป็นสุนัขเลี้ยงแกะในทวีปยุโรปตอนกลางและตอนล่าง นำมาพัฒนาในยุโรปเพื่อช่วยในการเลี้ยงแกะ ซึ่งบรรพบุรุษของปอมฯ น่าจะมีน้ำหนักมากถึง 30 ปอนด์ บางคนเชื่อว่าสุนัขปอมฯ มีต้นกำเนิดมาจากประเทศกรีซ โดยอ้างหลักฐานจากภาพวาดสมัยโบราณหลายภาพที่มีอายุ 400 ปีก่อนคริสตกาล หรือเกือบประมาณ 2500 ปีมาแล้ว มีภาพของสุนัขขนาดเล็กที่มีรูปร่างลักษณะเหมือนสุนัขปอมฯ ในปัจจุบัน คือ Stop ที่เด่นชัด ช่วงปากแหลม หูสั้น ลักษณะการเดินและการแสดงออกเหมือนกับที่พบได้ในปัจจุบันทุกประการ ยกเว้นแต่ตำแหน่งของหางที่อยู่ต่ำเกินไปเท่านั้น แสดงว่าสุนัขพันธุ์นี้มีขนาดเล็กมากตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ไม่ใช่เพิ่งพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงเมื่อ 40-50 ปีที่ผ่านมาตามที่มีคนในประเทศอังกฤษอ้างเสมอ ประมาณปี 1800 สมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย ทรงมีความชื่นชอบในสุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนียนและส่งสุนัขของพระองค์ลงประกวด ทำให้เกิดความนิยมปอมเมอเรเนียนอย่างแพร่หลายในประเทศอังกฤษ และเพราะความที่พระองค์โปรดปรานสุนัขที่มีขนาดเล็ก ผู้เพาะพันธุ์หลายคนเริ่มที่จะคัดสุนัขที่มีขนาดเล็ก ปัจจุบันปอมฯ ที่เราเห็นอยู่มีขนาดที่เล็กลงจากปอมฯ ที่เป็นต้นตำรับ 4-5 ปอนด์



ความฉลาดและความสามารถของปอมฯ ทำให้สุนัขพันธุ์นี้เป็นพระเอกในคณะละครสัตว์อย่างต่อเนื่อง ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเยอรมัน นิยมเลี้ยงกันเป็นฝูง บางแห่งทำเป็นสุนัขลากเลื่อนก็มี ปอมฯ เข้าสู่อังกฤษช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 และได้รับความนิยมอย่างสูง เช่น มีการตั้งชมรมคือ English Pomeranian Club ในปี 1891 ภายหลังสมเด็จพระราชินีวิคตอเรียทรงออกงานพร้อมสุนัขพันธุ์นี้บ่อยครั้ง ทำให้สุนัขพันธุ์นี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ส่วนในประเทศอเมริกามีการปรากฎตัวครั้งแรกของปอมเมอเรเนียนที่งานกระกวดสุนัขแห่งหนึ่งประมาณปี 1892 ไม่กี่ปีหลังจากนั้นมีการสั่งนำเข้าอีกเกือบ 200 ตัว มาตรฐานของปอมฯ โดยทั่วไป รูปรางจะเหมือนสุนัขจิ้งจอก มีขนาดกลาง ตาเป็นวงรีสีดำ หูเล็กตั้งตรง ลำตัวสั้นขนาดกระทัดรัด หางเป็นพวงแผ่อยู่บนส่วนหลัง





มาตราฐานสายพันธุ์

ลักษณะทั่วไป : ปอมฯ เป็นสุนัขขนาดเล็ก ลำตัวสั้นกระทัดรัด น้ำหนักประมาณ 4-6 ปอนด์ มีการแสดงออกถึงความเฉลียวฉลาด ร่าเริงและตื่นตัวอยู่เสมอ ซื่อสัตย์ รักเจ้าของ ขี้ประจบ แต่เป็นสุนัขค่อนข้างตกใจง่าย เห่ามาก ยิ่งตัวเล็กยิ่งเห่าเก่ง

สัดส่วน : น้ำหนักของปอมฯ โดยเฉลี่ยแล้วจะหนักประมาณ 3-7 ปอนด์ (ประมาณ 1.25-3 กก.) แต่ขนาดที่ดีสำหรับการประกวดนั้นควรหนักประมาณ 4-6 ปอนด์ (1.7-2.5 กก.) ถ้าสุนัขหนักมากกว่าหรือน้อยกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ถือว่าผิดมาตรฐาน รูปร่างของสุนัขมีความสำคัญกว่าขนาดของสุนัข ช่วงตั้งแต่หน้าอกจนถึงสะโพกจะสั้นกว่าหรือเท่ากับส่วนสูงตั้งแต่ช่วงไหล่จนถึงพื้น กระดูกมีขนาดปานกลาง

ศีรษะ : ขนาดของหัวต้องได้สัดส่วนกับลำตัว ช่วงปาก (MUZZLE) สั้นตรง หน้าดูคล้ายกับสุนัขจิ้งจอก (FOXY EXPRESSION) หัวกะโหลกปิด ช่วงบนของหัวกะโหลกจะกลมเล็กน้อยแต่ไม่โหนกนูน ถ้ามองจากด้านหน้าและด้านข้างแล้วจะต้องเห็นหูที่มีขนาดเล็กอยู่ในตำแหน่งที่สูง (HIGH EARSET) และตั้งตรง รูปร่างปากจะมีลักษณะคล้ายรูปลิ่ม(WEDGE SHAPE) เส้นที่ลากจากจมูกไปถึงจุดหัก (STOP) จะต้องอยู่ตรงกลางระหว่างตาทั้งสองข้างและหูทั้งสองข้าง ตามีสีดำสนิท สดใส ขนาดปานกลาง คล้ายเมล็ดอัลมอนด์ (ALMOND SHAPE) สีของจมูกและขอบตาต้องดำสนิท ยกเว้นปอมฯ สีน้ำตาล BEAVER และ BLUE ฟันต้องกัดสบกันพอดี (SCISSORSBITE)

นิสัยและอารมณ์ : สุนัขปอมฯ เป็นสุนัขที่เปิดเผย แสดงออกถึงความเฉลียวฉลาด

คอ เส้นหลังและลำตัว : คอค่อนข้างสั้น ตั้งอยู่บนไหล่ ทำให้ช่วงคอตั้งสูง แลดูสง่างาม ช่วงหลังสั้น มีระดับของเส้นหลัง หางมีตำแหน่งที่สูง (HIGH TAILSET) วางราบตรงอยู่บนหลัง

ลำตัวส่วนหน้า : ไหล่จะต้องมีการเอียงลาดลงเพียงพอ เพื่อให้สามารถชูคอและหัวได้สูงและสง่างาม ความยาวของช่วงไหล่และขาตอนบนต้องเท่ากัน ขาหน้าต้องตรงและขนานกัน ความยาวตั้งแต่ไหล่จนถึงข้อศอกต้องมีความยาวเท่ากับข้อศอกถึงพื้น ขาต้องตรงและแข็งแรง ไม่เอียงเข้าหรือเอียงออก

ลำตัวส่วนหลัง : ได้สัดส่วนกับลำตัวส่วนหน้า ตำแหน่งของหางจะต้องอยู่เหนือสะโพกค่อนมาทางด้านหน้าต้นขา ต้องมีกล้ามเนื้อแข็งแรงปานกลาง และมีส่วนหน้าของขาหลัง (STIFLES) มีมุม (ANGULATION) ที่โค้งงอพอสมควรรับกับส่วนน่อง (HOCK) ต้องตั้งฉากกับพื้น ถ้ามองจากด้านหลังขาทั้ง 2 ข้างต้องตรงและขนานกัน เท้ามีลักษณะโค้งมนกระชับ ไม่เอียง สุนัขต้องยืนอยู่ปลายเท้า (TOES) นิ้วติ่ง (DEWCLAWS) ถ้ามีควรตัดออก

การเคลื่อนไหว : การเดินหรือการเคลื่อนไหวต้องเป็นไปอย่างอิสระราบเรียบ นุ่มนวล แลดูแข็งแรง เวลาเดินขาหน้าต้องเหยียดตรงไม่งอพับขึ้น ข้อศอกไม่กางออก ส่วนขาหลังต้องไม่ถ่างออก ขาหลังจะเคลื่อนไปข้างหน้าในจังหวะเดียวกันกับขาหน้าที่เคลื่อนที่ไป

ขน : สุนัขปอมฯ มีขน 2 ชั้น คือ ขนชั้นใน (UNDERCOAT) ต้องนุ่มและแน่น ขนชั้นนอก(OUTTERCOAT) ต้องยาวตรงเป็นประกายและหยาบ ขนชั้นในที่หนาแน่นจะช่วยพยุงขนชั้นนอกให้ฟูไม่ลู่ เหยียดตรง ขนจะต้องหนาแน่นตั้งแต่ช่วงคอ หน้าอก ช่วงไหล่ด้านหน้า ขนช่วงหัวและขาจะแน่นแต่สั้นกว่าขนช่วงลำตัว ขนหางยาว หยาบและเหยียดตรง การตัดแต่งเล็มขนให้ดูสวยงามและดูเรียบร้อยไม่ถือเป็นข้อผิด

สี : สีที่ได้รับการยอมรับและรับรอง ควรได้รับการพิจารณาการตัดสินอย่างเท่าเทียมกัน สีที่ได้รับการยอมรับได้แก่

1. สีใดๆ ก็ได้ที่ขึ้นเป็นสีเดียวกันทั้งตัว หรืออาจจะมีสีที่อ่อนหรือแก่กว่าแซมอยู่ด้วย (SELT-COLOR)

2. สีแซมกัน 2 สี (PARTI-COLOR) หมายถึงปอมฯ ที่มีสีขาวและมีสีอื่นแซมเป็นพื้นๆ กระจายเท่าๆ กันทั่วตัว และควรมีแถบสีขาวบนหัวด้วย

3. สีดำและน้ำตาล (BLACK AND TAN) หมายถึงปอมฯ มีสีดำที่มีสีน้ำตาลอยู่เหนือตาทั้ง 2 ข้างและปาก ลำคอ หน้าอก ใต้หาง ขาและเท้าทั้ง 4 ข้าง สีน้ำตาลนี้ยิ่งเข้มยิ่งดี

4. BRINDLE ได้แก่ปอมฯ ที่มีพื้น คือ สีทอง แดงหรือส้ม และมีสีดำแซมอยู่ทั่วทั้งตัว



จุดบกพร่อง :

1. กะโหลกกลม โหนกนูน ฟันล่างยื่น (UNDERSHOT MOUTH) หรือฟันบนยื่นจนเกินไป (OVERSHOT MOUTH)

2. ข้อเท้าราบกับพื้นมากเกินไป

3. ขาหลังที่หัวเข่าชิดกัน ปลายเท้าชี้ออก (COWHOCKS) หรือขาหลังที่บกพร่อง

4. ขนที่นิ่ม เหยียดตรงและแยกออกจนเห็นผิวหนังข้างใน (OPEN COAT)


3.พันธุ์เชา เชา


เป็นสุนัขที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น มีประวัติศาสตร์สายพันธุ์มายาวนาน กว่า 2000 ปี สุนัขเชา เชา เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างสุนัขพันธุ์มาสตีฟแห่งธิเบตและพันธุ์ชามอยจากตอนเหนือของไซบีเรีย แต่มีข้อโต้แย้งว่าเชา เชาอาจเป็นสุนัขพันธุ์แท้ดั้งเดิม เพราะเป็นเพียงสุนัขพันธุ์เดียวในโลกที่มีลิ้นสีดำปนน้ำเงิน




เชา เชาเริ่มมีชื่อเสียงและได้รับความนิยมในประเทศอังกฤษในปี 1880 โดยพระนางเจ้าวิคตอเรียทรงให้ความสนพระทัย สมาคมสุนัขพันธุ์เชา เชาได้ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในอังกฤษในปี 1895 สุนัขพันธุ์เชา เชามีความสามารถในการดมกลิ่นเป็นเลิศ มีความเฉลียวฉลาดในกลวิธีการล่าสัตว์





ปัจจุบันสุนัขพันธุ์เชา เชาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ในบ้านเราจัดได้ว่าได้รับความนิยมอยู่ในเกณฑ์สูงและจัดได้ว่าเป็นสุนัขที่ค่อนข้างมีระดับ เหตุเพราะว่าเป็นสุนัขที่มีราคาค่อนข้างสูง จากการที่เชา เชามีขนหนาแน่นปกคลุมอยู่ทั่วตัว ทำให้ร่างกายอุ้มความร้อน ดั้งนั้นเชา เชาจึงชอบอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น ในสภาพอากาศที่ร้อนอย่างบ้านเรา มักจะทำให้เหนื่อยง่ายและเฉื่อยชา แต่อย่างไรก็ตามการที่เชา เชามีการขยายพันธุ์ในหลายๆ รุ่น ทำให้สามารถปรับสภาพกับอากาศในเมืองไทยได้พอสมควร






มาตราฐานสายพันธุ์

ลักษณะทั่วไป : เชา เชาเป็นสุนัขที่เต็มไปด้วยพละกำลัง ลำตัวสั้นกระทัดรัด มีความแคล่วคล่องว่องไวและตื่นตัวอยู่เสมอ มีมัดกล้ามเนื้อที่แข็งแรงและมีโครงสร้างที่สมดุลมาก ลำตัวเป็นสี่เหลี่ยม ศีรษะกว้างและแบน สันจมูกกว้างและสั้น มีขนขึ้นหนาแน่นโดยเฉพาะที่รอบคอ ขาใหญ่ตั้งตรงและแข็งแรง ขนมีความมันเป็นประกาย ลักษณะเด่นของเชา เชาคือ มีความเป็นเอกลักษณ์ มีความสง่างามและมีความเป็นธรรมชาติ เปรียบเสมือนกับเป็นราชสีห์ หน้าตาดุดันแข็งขัน สงบและว่างท่าอย่างสุขุมเป็นผู้ดี มีความเป็นอิสระและมีการตัดสินใจที่ดี

ศีรษะ : มีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดรูปร่าง มีกะโหลกศีรษะแบนกว้าง มีสต๊อปชัดเจน ลักษณะหน้าตาฉายแววของความทรนงองอาจ สันจมูกสั้นและกว้างเมื่อเทียบกับความยาวของกะโหลกจากตาจนถึงปลายจมูก ริมฝีปากเต็มและยื่น

ฟัน : ฟันขาว แข็งแรง สบกันพอดี

จมูก : จมูกใหญ่ กว้างและมีสีดำ ถ้าจมูกมีลายจุดหรือมีสีอื่นที่เห็นได้ชัดเจนนอกจากสีดำถือว่าขาดคุณสมบัติ ยกเว้นเชา เชาที่มีดำ, น้ำเงิน จมูกอาจมีสีน้ำเงินได้ ลิ้นมีสีดำออกน้ำเงิน เนื้อเยื่อในปากออกสีดำ ถ้าลิ้นมีสีชมพูแดงหรือมีจุดสีแดงจนเห็นได้ชัดเจนถือว่าขาดคุณสมบัติ

ตา : มีสีดำขนาดปานกลาง รูปร่างเรียวคล้ายผลอัลมอนด์ ขอบตาสีดำ

หู : ใบหูเล็ก ตรงปลายหูมีความโค้งมนเล็กน้อย หูแข็งตั้งขึ้น เอียงออกด้านข้างและด้านหน้าเล็กน้อย ถ้าหูตกข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างถือว่าขาดคุณสมบัติ

ลำตัว : สั้นกระทัดรัด มีซี่โครงผายออก ความสูงของลำตัวมีขนาดใกล้เคียงกับความยาวของลำตัว เส้นหลังตรงขนานกับพื้น

คอ : ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ คอกลม มีความยาวพอเหมาะ แข็งแรง ทำให้ดูสง่างาม

อก : กว้างและลึกเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อ ลึกจรดข้อศอก ถ้าอกแฟบถือว่าเป็นข้อบกพร่องที่ร้ายแรง

ขาหน้า : ขาหน้าตั้งตรง กระดูกมีขนาดใหญ่ มีมัดกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ข้อเท้าขาหน้าตั้งตรงตั้งฉากกับพื้น เท้าชี้ตรงไปข้างหน้าไม่บิดซ้าย - ขวา เท้ามีลักษณะหนากลม เท้าชิด เล็บตัดสั้น

ขาหลัง : มีกระดูกใหญ่ ขาหลังท่อนบนประกอบด้วยกล้ามเนื้อ มองจากด้านหลังขาหลังตรง และขนานห่างกันพอเหมาะ ข้อเท้าหลังตรงตั้งฉากกับพื้น มองจากด้านข้าง สะโพก หัวเข่าและข้อเท้าจะเป็นเส้นตรงเดียวกัน เท้าหลังมีลักษณะคล้ายเท้าหน้า

เอว : มีขนาดสั้นและลึก ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ

ขน-สี : มี 2 ชนิด คือ ชนิดขนสั้นและชนิดขนยาว มีขนที่ดกหนา เส้นขนเหยียดตรง ขนชั้นนอกค่อนข้างหยาบ ขนชั้นในนุ่ม มีสีสดใสและเป็นสีเดียวกันตลอด อาจมีเฉดสีแตกต่างออกไปเล็กน้อยตรงแผงคอ ที่หางและที่ก้น เชา เชามีสีดำ, สีเทา, สีแดง, สีครีม ที่สำคัญคือ เชา เชาต้องมีสีเดียวตลอดทั้งตัว

หาง : โคนหางอยู่ในระดับสูง หางพาดแนบหลัง

ส่วนสูงและน้ำหนัก : สูงประมาณ 17 - 20 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 24 - 27 กิโลกรัม

การเคลื่อนไหว : มีความมั่นคง สง่างาม ขณะวิ่งขาตึง ยกเท้าไม่สูง คอเชิด



Ads by Google






วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การเลี้ยงไก่ชน


วิธีการเลี้ยงไก่สำหรับชน





การเลี้ยงไก่สำหรับชนนั้น มีหลายอย่างหลายชนิดแล้วแต่ครูบาอาจารย์ใดจะสั่งสอนมา

แต่ที่จะนำมากล่าวนี้เป็นที่นิยมมากที่สุด

ระยะการปล้ำและทำตัวไก่หนุ่ม

ไก่หนุ่มที่จะเริ่มเลี้ยงครั้งแรก ต้องลงขมิ้นให้ทั่วทั้งตัวเสียก่อน เพื่อสะดวกในการอาบน้ำ

และป้องกันไรได้ดีอีกด้วย

ก. เริ่มอาบน้ำเวลาเช้าทุกวัน ควรใช้ผ้าประคบหน้าทุกครั้งที่มีการอาบน้ำ

ลงกระเบื้อง เนื้อตัวบาง ๆ แล้วลงขมิ้นตามเนื้อบาง ๆ แล้วนำไปผึ่งแดด พอรู้ว่าหอบก็นำไก่เข้าร่ม

อย่าให้กินน้ำจนกว่าจะหายหอบจึงจะให้กินน้ำได้ไก่ผอมไม่ควรผึ่งแดดให้มากเพราะจะทำให้ผอมมากไปอีก ถ้าอ้วนเกินไปต้องผึ่งแดดให้มากสักหน่อย เพราะจะทำให้น้ำหนักลดลงได้ ควรคุมน้ำหนักทุกครั้งที่มีการซ้อม และการเลี้ยงทุกวันตอนเช้า

ข. อาบน้ำประมาณ 7 วัน แล้วจึงเริ่มซ้อมครั้งแรกสัก 2 ยก ๆ ละไม่เกิน 12 นาที ซ้อมสัก 3 ครั้ง ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3 ซ้อมยกละ 15 นาที รวมแล้วให้ได้ 6 ยก ระยะการปล้ำแต่ละครั้งควรจะมีเวลาห่างกันประมาณ 10 -15 วันพอครบกำหนดแล้วต้องถ่ายยาตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว



วิธีล่อ

เวลาประมาณบ่าย 2 โมงเย็น เอาน้ำเช็ดตัวไก่ที่เลี้ยงเล็กน้อย แล้วเอาไก่ที่เป็นไก่ล่อ

จะเป็นการล่อทางตรงหรือทางอ้อมก็แล้วแต่สะดวก แล้วล่อไก่ให้ย้าย คือเอาไก่ล่อ ๆ วนไปข้างซ้าย 10 รอบ เย้ายวนไปทางขวา 10 รอบ

ย้ายจนกว่าไก่ตัวถูกล่อจะไม่ล้มจึงจะใช้ได้ แล้วล่อให้ไก่บินบ้าง ล่อประมาณ 20 - 25 นาทีก็พอ

พอเสร็จจากการล่อเอาขนไก่ปั้นคอ พอหายเหนื่อยแล้วอาบน้ำได้ เสร็จแล้วผึ่งแดดให้ขนแห้งแล้วกินอาหารได้

การใช้ขมิ้น

ทุกครั้งเวลาอาบน้ำไก่ในตอนเช้า ต้องใช้กระเบื้องอุ่น ๆ ประคบหน้าพอสมควร

ถ้ามากนักจะทำให้หน้าเปื่อย แล้วทาขมิ้นบาง ๆ ทุกครั้ง บางคนใช้ทาเฉพาะหน้าอก ขา ใต้ปีก ตามเนื้อเท่านั้น (ใช้ได้เหมือนกัน)

การปล่อยไก่

ไก่ที่เลี้ยงไว้ชนพอเวลาแดดอ่อนๆควรได้ปล่อยไก่ให้เดินตามสนามหญ้าแพรกนอกจากจะให้ไก่ได้เดินขยายตัวแล้ว ไก่ยังมีโอกาสได้กินหญ้าไปในตัวด้วย




วิธีแก้ไขให้น้ำหนักตัวลด

เวลาไก่ชนที่เลี้ยงอ้วนเกินไปน้ำหนักตัวจะมากบินไม่ขึ้น ควรผึ่งแดดให้หอบนาน ๆ หากไก่ผอมมากไปไม่ควรให้ถูกแดดมากเกินไป

เวลานอนควรให้นอนบนกาบกล้วย หรือเอาน้ำเย็นเช็ดตัวบาง ๆ ก่อนนอน การนอนควรนอนในมุ้งทุกคืนเพื่อมิให้ยุงไปรบกวน ไก่จะได้นอนหลับสบาย

การเลี้ยงไก่ถ่าย

การเลี้ยงไก่ถ่าย หรือไก่ที่เปลี่ยนขนตั้งแต่หนึ่งครั้งขึ้นไป วิธีเลี้ยงเช่นเดียวกับไก่หนุ่ม ผิดกันตรงที่ไก่ถ่ายต้องปล้ำให้ได้ที่ คือปล้ำครั้งละ

2 ยก ยกละ 15 นาที จำนวน 5 ครั้ง รวม 10 ยก หรือปล้ำจนกว่าจะบินไม่ล้ม แล้วผึ่งแดดให้นานกว่าไก่หนุ่มหน่อย นอกนั้นเหมือนกันหมด

ยาถ่ายไก่

ยาถ่ายโบราณคนนิยมใช้กันมากมีส่วนผสมดังนี้

1. เกลือประมาณ 1 ช้อนคาว

2. มะขามเปียก 1 หยิบมือ

3. ไพลประมาณ 5 แว่น

4. บอระเพ็ดยาวประมาณ 2 นิ้ว หั่นเป็นแว่นบาง ๆ

5. น้ำตาลปีบประมาณ 1 ช้อนคาว

6. ใบจากเผาไฟเอาถ่าน (ใช้ใบจากประมาณ 1 กำวงแหวน) ใช้ครกตำให้ละเอียดเข้า ด้วยกัน เวลาใช้ยาควรให้ไก่กินเวลาเช้าท้องว่าง

ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดหัวแม่มือ 2 เม็ด ให้น้ำกินมาก ๆ หน่อย แล้วครอบผึ่งแดดไว้รอจนกว่ายาจะออกฤทธิ์ ถ่ายเป็นน้ำ 3 ครั้ง ก็พอแล้วเอาข้าวให้กินเพื่อให้ยาหยุดเดิน

น้ำสำหรับอาบไก่

ปกติไก่เลี้ยงจะต้องอาบน้ำยาจนกว่าไก่จะชน เครื่องยาที่ใส่น้ำต้มมีดังนี้

1. ไพลประมาณ 5 แว่น

2. ใบส้มป่อยประมาณ 1 กำมือ

3. ใบตะไคร้ ต้นตะไคร้ 3 ต้น

4. ใบมะกรูด 5 ใบ

5. ใบมะนาว 5 ใบ

เอา 5 อย่างมารวมกันใส่หม้อต้มให้เดือดแล้วทิ้งไว้ให้อุ่น พออุ่น ๆ แล้วค่อยอาบน้ำไก่ แล้ว นำไปผึ่งแดดให้ขนแห้ง






ยาบำรุงกำลังไก่

ยาบำรุงที่นิยมกันมากมีหลายขนาน แต่จะยกมาขนานเดียว คือ

1. ปลาช่อนใหญ่ย่างไฟ แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง 1 ตัว

2. กระชายหัวแก่ ๆ ประมาณ 2 ขีด (แห้ง)

3. กระเทียมแห้ง 1 ขีด

4. พริกไทย 20 เม็ด

5. บอระเพ็ดแห้ง 1 ขีด

6. นกกระจอก 7 ตัว

7. หัวแห้วหมู 1 ขีด

8. ยาดำพอประมาณ

นกกระจอกนำไปย่างไฟแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง แล้วนำไปตำให้ป่น ปลาช่อนก็ตำให้ป่น แล้วนำทั้ง 8 อย่างมาผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนเท่าเม็ดพุทราให้กินวันละ1 เม็ดก่อนนอนทุกวันจนกว่าไก่จะชน

ยาบางตำราไม่เหมือนกันแต่ได้ผลดีทั้งนั้น แต่ไปแพ้กันตรงที่ไก่เก่งไม่เก่งเท่านั้น

ไก่ที่นำไปชนทุกครั้งถ้าไม่ได้ชน กลับมาจะต้องฉะหน้าถอนแข้งทุกครั้ง ๆ ละ 5 นาที 1 ครั้ง ก่อนจะนำไปชนต่ออีก









วิธีให้น้ำไก่ขณะกำลังชน

การใช้น้ำไก่เป็นสิ่งจำเป็นในการชนไก่เป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าท่านให้น้ำไก่ไม่เป็น

เอาไก่ไปชนโอกาสแพ้มีมาก มือน้ำเท่านั้นเป็นผู้ชี้ชะตาไก่ของท่าน เพราะฉะนั้นท่านต้องเป็นคนให้น้ำไก่เก่งๆ จึงจะสู้เขาได้

วิธีให้น้ำไก่ก่อนชน

ท่านต้องใช้ผ้ามุ้งบาง ๆ ชุบน้ำเช็ดตัวให้ทั่วตัวทุกเส้นขน แต่อย่างให้ปีกเปียก (เพราะปีกเป็นอุปกรณ์สำคัญในการต่อสู้)

แล้วเช็ดให้แห้ง ให้กินข้าวสุก จนอิ่มแล้วปล่อยให้เดินเพื่อจะได้ขยายตัว และแต่งตัวเรียบร้อยแล้วนำไก่เข้าชน

พอหมดยกที่ 1

เอาผ้าชุบน้ำเช็ดหน้าอก และใต้ปีกเสียก่อนจึงค่อยเช็ดตามตัวให้ทั่ว แล้วตรวจบาดแผลตามหัว ตามตัวว่ามีผิดปกติหรือเปล่า

ตรวจดูตา ตรวจดูปากให้เรียบร้อย ถ้าปากฮ้อ ก็เตรียมผูก ถ้าตาหรี่ก็ควรเสนียดตา หรือถ่างตา เสร็จเรียบร้อยแล้วให้กินข้าวสุกที่บดไว้

ประมาณ 3 - 4 ก้อน แตงกวาแช่น้ำมะพร้าวอ่อน พอให้อิ่มแล้วเอาไก่นอน ๆ ประมาณ 5 นาที

หลังจากนอนเสร็จเรียบร้อยแล้ว เอากระเบื้องอุ่นมาเช็ดตามตัว ตามหน้าแข้ง

ขาให้ทั่วบริเวณที่ถูกตี แล้วปล่อยให้เดิน และให้ไก่ถ่ายออกมาเพื่อจะได้ให้ตัวเบา (ยกต่อไปก็ทำเหมือนยกที่ 1 จนกว่าจะแพ้ ชนะกัน)



วิธีรักษาพยาบาลหลังจากไก่ชนแล้ว



ตามปกติไก่ที่ชนมาแล้วจะมีบาดแผลมากน้อยแล้วแต่กำหนดเวลาการต่อสู้ บางตัวก็ชนะเร็ว

บางตัวก็ชนะช้าบาดแผลก็มีมาก เวลาชนเสร็จแล้วควรใช้เพนนิซิลิน อย่างเป็นหลอดทาตามหน้าให้ทั่ว

เพื่อไม่ให้หน้าตึง อย่าใช้ขมิ้นเป็นอันขาด ถ้าบาดแผลมากจริงควรใช้ยาพวกสเตปโตมัยซิน

หรือฉีดยาเทอรามัยซิน หรือจะให้กินยาเต็ดตร้าไซคลินก็ได้ วันละ 1 เม็ด ตอนเย็น

ประการสำคัญ อย่าให้ทับตัวเมียเป็นอันขาด หลังจาก 1 เดือนไปแล้วให้ทับได้





วิธีดูลักษณะไก่ชน




ตามปกติลักษณะ และบุคลิกเป็นสิ่งสำคัญไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ ไก่ชนตัวใดมีบุคลิกลักษณะดี

ไก่ตัวนั้นก็มักจะเก่งเป็นส่วนมาก การดูบุคลิกลักษณะไก่ชนที่เก่งมีส่วนประกอบหลายอย่าง

1. ใบหน้าเล็ก คางรัด

2. หงอน (หงอนบางกลางหงอนสูง) (หงอนหิน)

3. ปากเป็นร่องน้ำสองข้างลึก (ปากสีเดียวกับขา)

4. นัยตาดำเล็ก ตาขาวมีสีขาว (ตาปลาหมอตาย) (หรือตาสีเดียวกับสร้อยคอ)

5. สีของขน

6. สร้อยคอต้องยาวติดต่อสร้อยกลางหลัง

7. ปากใหญ่ยาว

8. คอใหญ่และกระดูกปล้องคอถี่ ๆ

9. หางยาวแข็ง

10. กระดูกหน้าอกใหญ่ ยาว

11. แข้งเล็ก แห้ง ร่องเกล็ดแข้งลึก และกลม เกล็ดแข้งใส เหมือนเล็บมือ

12. นิ้วเล็กยาว เล็บยาว

13. เม็ดข้าวสารนูนเวลาใช้มือลูบจะคายมือ

14. โคนหางใหญ่

15. อุ้งเท้าบาง แคร่หลังใหญ่

16. เส้นขาใหญ่







การใช้วัคซีนสำหรับไก่




การเลี้ยงไก่ในบ้านเราจะไม่ให้ยุงกัดเลยย่อมทำไม่ได้ เพราะเป็นเมืองร้อนยุงมากจึงทำให้เป็นโรคฝีดาษอยู่กว้างขวางแห่งที่มีการเลี้ยงไก่ ดังนั้นการป้องกันโรคฝีดาษจึงจำเป็นเหลือเกินที่จะต้องอาศัยวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษของกรมปศุสัตว์

วัคซีนชนิดนี้ให้ผลดีมากในการป้องกันโรคฝีดาษ การให้วัคซีนต้องให้เสียตอนที่ลูกไก่อายุได้ 7 วัน

วัคซีนนี้ให้ครั้งเดียวก็พอ ไม่ต้องให้ซ้ำอีกเพราะไก่ที่โตเต็มที่แล้วจะต้านทานโรคนี้ได้ดี

หลังจากให้วัคซีนลูกไก่แล้วควรป้องกันไม่ให้ยุงกัดเด็ดขาด

โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ เนื่องจากยังไม่มียารักษาโรคหลอดลมอักเสบติดต่อได้ผลจริง ๆ

การป้องกันที่ดีหรือให้ได้ผลดีจริง ๆ ต้องใช้วัคซีนป้องกันโรคนี้ของกรมปศุสัตว์

หยอดจมูกให้ลูกไก่หลังจากอายุ 15 วันไปแล้ว ให้หยอดตัวละ 2 หยด และควรหยอดวัคซีนซ้ำอีกครั้งหนึ่งเมื่อลูกไก่อายุได้ 4 - 5 เดือน

การใช้วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลที่ถูกต้องควรทำดังนี้

1. เมื่อลูกไก่อายุ 2 - 5 วันให้หยอดจมูกลูกไก่ด้วยวัคซีน สเตรนเอฟ ตัวละ 1 หยด

2. พอลูกไก่ได้ 3 อาทิตย์เต็ม ควรให้วัคซีนสเตรนเอฟหยอดซ้ำอีกตัวละ 2 หยด

3. พอลูกไก่ได้ 8 อาทิตย์ ควรใช้วัคซีนเอมพีสเตรน แทงที่ผนังปีก จะคุ้มโรคได้ 1 ปี


ยาถ่ายไก่


ยาถ่ายโบราณคนนิยมใช้กันมากมีส่วนผสมดังนี้

1. เกลือประมาณ 1 ช้อนคาว

2. มะขามเปียก 1 หยิบมือ

3. ไพลประมาณ 5 แว่น

4. บอระเพ็ดยาวประมาณ 2 นิ้ว หั่นเป็นแว่นบาง ๆ

5. น้ำตาลปีบประมาณ 1 ช้อนคาว

6. ใบจากเผาไฟเอาถ่าน (ใช้ใบจากประมาณ 1 กำวงแหวน) ใช้ครกตำให้ละเอียดเข้า ด้วยกัน เวลาใช้ยาควรให้ไก่กินเวลาเช้าท้องว่าง

ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดหัวแม่มือ 2 เม็ด ให้น้ำกินมาก ๆ หน่อย แล้วครอบผึ่งแดดไว้รอจนกว่ายาจะออกฤทธิ์ ถ่ายเป็นน้ำ 3 ครั้ง ก็พอแล้วเอาข้าวให้กินเพื่อให้ยาหยุดเดิน



น้ำสำหรับอาบไก่

ปกติไก่เลี้ยงจะต้องอาบน้ำยาจนกว่าไก่จะชน เครื่องยาที่ใส่น้ำต้มมีดังนี้

1. ไพลประมาณ 5 แว่น

2. ใบส้มป่อยประมาณ 1 กำมือ

3. ใบตะไคร้ ต้นตะไคร้ 3 ต้น

4. ใบมะกรูด 5 ใบ

5. ใบมะนาว 5 ใบ

เอา 5 อย่างมารวมกันใส่หม้อต้มให้เดือดแล้วทิ้งไว้ให้อุ่น พออุ่น ๆ แล้วค่อยอาบน้ำไก่ แล้ว นำไปผึ่งแดดให้ขนแห้ง



สมุนไพรเกี่ยวกับโรคผิวหนัง บาดแผล เห็บหมัด ไรไก่

สมุนไพรเดี่ยว

๑.รากหนอนตายอยาก แผลติดเชื้อ มีหนอง มีหนอน ตำให้แหลก พอก หรือคั้นน้ำ ทาแผล

๒. ตะเคียน ต้มเคี่ยวใช้ทาแผล หรือตำให้แหลกแช่น้ำ ใช้แช่เท้าเปื่อย

๓.ประดู่ ต้มเคี่ยวใช้ทาแผล

๔.หนามคนทา ใช้ฝนทาแผล หนอง

๕.ลูกหนามแท่ง ต้มใช้น้ำชะล้างแผล หรือชำระล้าง

๖.ลูกมะคำดีควาย ต้ม ใช้น้ำชำระล้าง

๗.กำมะถันแดง โรยบนเตาไฟใช้รมบาดแผล

๘. หนามกำจาย ฝนทาแผล ติดเชื้อ

๙. เปลือกสีเสียด ต้มเคี่ยว ใช้ล้างแผล แช่เท้าเปื่อย

๑๐. ว่านมหากาฬ ตำพอกแผล

๑๑. ฟ้าทะลายโจร ต้มเคี่ยวใช้ชะล้าง

๑๒. ยาฉุน แช่น้ำ ไล่เห็บ เหา หมัด ไรไก่

๑๓. แมงลักคา ขยี้สดๆวางไว้ในเล้าไก่ไล่ไรไก่



น้ำยาอาบไก่ชน รักษาผิว และทำให้ไก่แข็งแรง

ไม้กระดูกไก่ทั้ง ๒

เปลือกสมอทะเล

ยอดส้มป่อย

ขมิ้น

ใบหนาด

ต้มรวมทั้งหมดเอาน้ำใช้อาบ



ยาประคบไก่รักษาอาการฟกช้ำ และบาดแผล

ไพล

ขมิ้น ( ขมิ้นอ้อย หรือขมิ้นก็ได้ )

ตำใช้ประคบ



พืชสมุนไพรป้องกันหวัดไก่ภูมิปัญญาไทยแท้แต่โบราณ

จาก สถานะการณ์ ไข้หว้กนกที่ผ่านมา

ในขณะที่ฟาร์มไก่เป็นโรค ระบาดตายหมดเล้า แต่เรากลับพบว่า "ฟาร์มไพบูลย์" ตั้งอยู่เลขที่ 23 หมู่ 3 ตำบลบ้านสร้าง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีไก่ไข่ที่เลี้ยงไว้ประมาณ 20,000 ตัว ในพื้นที่ 5 ไร่ กลับไม่ เป็นอะไรเลย ยังมีอาการปกติดีทุกอย่างไพบูลย์ รักษาพงษ์พานิชย์ อายุ 55 ปีเจ้าของฟาร์มไก่ไข่ เล่าว่า เขามีเทคนิคในการเลี้ยงไก่ ที่ไม่เหมือนกับฟาร์มอื่นๆ กล่าวคือเขาได้ใช้สมุนไพรไทย เข้ามาช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับไก่ไข่ภายในเล้า โดยเคล็ดลับ ในการเลี้ยง และดูแลรักษาไก่ ให้มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคระบาด โดยเฉพาะโรคไข้หวัด และโรคอหิวาต์นั้น ใช้ ฟ้าทะลายโจรผง และบอระเพ็ดผสมให้ไก่กิน ซึ่งฟ้าทะลายโจรนี้ใช้ได้ทั้งก้าน และใบนำมาบดผสมเข้ากับบอระเพ็ด อัตราส่วนโดยประมาณ ฟ้าทะลายโจร 1 ตัน ผสมบอระเพ็ด 2 กิโลกรัม แล้วนำสมุนไพรที่ว่านี้ผสมลงในอาหารอีกครั้ง อัตราส่วนสมุนไพร 15 กิโลกรัมต่ออาหารไก่ 1,000 กิโลกรัม คลุกเคล้าผสมให้เข้ากัน ก่อนนำเอาไปให้ไก่กินทุกวันฟ้าทะลายโจรจะช่วยในเรื่องของการป้องกันในเรื่องของหวัดไก่และคุมเรื่องโรคอหิวาต์ หรือโรคท้องร่วงที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงหน้าหนาว เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับไก่ ทำให้ไก่มีสุขภาพแข็งแรงไม่เป็นโรคหรือติดโรค ง่ายเวลาที่มีการระบาด เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมานาน และค่อนข้างใช้ได้ผล ซึ่งนอกจากสมุนไพรแล้ว เรื่องของ "น้ำ" ก็สำคัญ เพราะเชื้อมักมากับน้ำ ฉะนั้นการใช้น้ำคลองหรือน้ำบาดาลให้ไก่กิน ควรใส่ยาฆ่าเชื้อพวกคลอรีนหรือเพนนิซิลลินเสียก่อนอีกวิธีที่ใช้กันมานาน ก็คือ การใช้ตะไคร้ วิธีการก็คือนำตะไคร้ทั้งกอมาต้มให้ไก่กินแทนน้ำ (การต้มน้ำก็เป็นการฆ่าเชื้อโรคได้ทางหนึ่ง)



ส่วนไอน้ำตะไคร้ที่ต้มก็ให้ใช้วิธีต่อท่อพ่นเข้าไปในเล้าไก่ แต่ทั้งนี้ต้องทำความสะอาดเล้าไก่ให้ดีเสียก่อน เชื่อว่าเป็นการไล่หวัดไก่ได้ วิธีการนี้เคยใช้เมื่อครั้งเกิดโรคระบาดไก่สมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม แม้เกษตรกรบางรายอาจจะมองว่าเป็นการไปเพิ่มต้นทุน แต่ถ้าสามารถป้องกันโรค และไม่เกิดความเสียหายจากโรคระบาดที่เกิดขึ้นก็ถือว่าคุ้มที่จะลงทุน ตามสำนวนไทยที่ว่า ป้องกันไว้ดีกว่าแก้ แย่แล้วจะแก้ไม่ทัน

แนะใช้ "สมุนไพร" แทนยาปฏิชีวนะ เสริมสร้างสุขภาพ ป้องกันโรคระบาดในไก่



วิจัยพบสมุนไพรหลายชนิด เช่น ฟ้าทลายโจร ขมิ้นชัน พริก ฝรั่ง มีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกันโรคติดต่อในไก่ สามารถใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะที่กำลังเป็นปัญหาในการส่งออกได้ สกว. หนุนวิจัยเชิงลึก ทั้งสร้างมาตรฐานการใช้สมุนไพร การผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ รวมถึงวิธีการปลูก ที่นอกจากจะช่วยรักษาตลาดส่งออกไก่เนื้อ มูลค่าสี่หมื่นล้านบาทต่อปี และเปิดตลาดอาหารสุขภาพแล้ว ยังเป็นทางเลือกใหม่ให้เกษตรกรไทยที่จะหันมายึดอาชีพปลูกสมุนไพรอีกด้วย



หนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ก็คือ "โรคระบาด" เพราะทุกครั้งที่มีโรคระบาดเกิดขึ้นจะสร้างความสูญเสียกับผู้เลี้ยงเป็นอย่างมาก และเป็นการยากที่จะป้องกันไม่ให้โรคลุกลามไปยังไก่ที่เหลือในเล้าและฟาร์มใกล้เคียง ดังที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่หลายจังหวัดในขณะนี้



สาเหตุสำคัญของการระบาดก็คือ สภาพของการเลี้ยงไก่จำนวนมากในพื้นที่น้อย ๆ ซึ่งนอกจากสร้างความเครียดให้กับไก่แล้ว ยังทำให้ไก่กินอาหารน้อยลงและมีภูมิต้านทานโรคลดต่ำลง จนเป็นเหตุให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย ซึ่งแนวทางหนึ่งในการดูแลสุขภาพไก่ก็คือ การใช้ยาหรือสารปฏิชีวนะผสมในน้ำหรืออาหารที่ไก่กิน เพื่อช่วยลดความเครียดและกินอาหารได้มากขึ้น ซึ่งทำให้ภูมิต้านทานโรคดีขึ้น



น.สพ.ยุคล ลิ้มแหลมทอง อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในการประชุมวิชาการ "สมุนไพรไทย : โอกาสและทางเลือกใหม่ ของอุตสาหกรรมผลิตสัตว์ ครั้งที่ 2 " ว่าขณะนี้นโยบายของกระทรวงเกษตรฯ คือ การสร้างความปลอดภัยด้านอาหารเพื่อผู้บริโภคในประเทศและการส่งออก แต่ปัจจุบันยังมีการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหาร เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของไก่อยู่ค่อนข้างมาก แต่ขณะเดียวกันมีการศึกษาวิจัยในด้านการใช้สมุนไพรอย่างจริงจังในหลายหน่วยงาน ซึ่งหากพบว่าสามารถใช้ทดแทนได้จริง ทางกระทรวงโดยกรมปศุสัตว์ก็พร้อมให้การสนับสนุน



"สมุนไพรเป็นทางเลือกใหม่ในอุตสาหกรรมผลิตสัตว์ ในการแก้ปัญหาการตกค้างของสารต่าง ๆ ซึ่งขณะนี้มีงานวิจัยอยู่มากพอสมควร และเราได้กำหนดมาตรการการเลี้ยงสัตว์ในบ้านเราให้ยาปฏิชีวนะน้อยที่สุด หากใช้ ต้องใช้เพื่อการรักษาเท่านั้น และหากจะใช้ต้องมีระยะหยดยาด้วย ซึ่งทำให้สมุนไพรอาจเป็นคำตอบของเรื่องนี้ก็ได้ และหากมีงานวิจัยที่ยืนยันได้ว่าใช้สมุนไพรแทนได้จริงทั้งเรื่องประสิทธิภาพและความคุ้มค่า เราก็พร้อมสนับสนุน เพราะจะมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะตลาดสินค้าอินทรีย์ที่ยุโรป ซึ่งเขาต้องการสินค้าพวกนี้ โดยไม่เกี่ยงเรื่องราคา



รศ.ดร.จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ ผู้อำนวยการฝ่ายเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว. กล่าวเสริมว่า การใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ไม่ได้รับการยอมรับจากตลาดต่างประเทศ เนื่องจากเกรงผลตกค้างที่อาจทำให้เกิดการดื้อยาในผู้บริโภค โดยหลังปี 2006 สหภาพยุโรปจะห้ามใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อเร่งการเจริญเติบโตในสัตว์ทุกชนิด รวมถึงไก่เนื้อส่งออกของไทย ที่ขณะนี้ส่งออกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีมูลค่าส่งออกทั่วโลกกว่าสี่หมื่นล้านบาทในปี 2546 ภาคอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ของไทยจึงต้องเตรียมความพร้อมและปรับตัวเพื่อรับมาตรการดังกล่าว เพราะมาตรฐานด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคทุกประเทศจะมีแนวโน้มไปในทางเดียวกัน



"ปัญหาคือ มีรายงานในยุโรปพบว่า สัตว์ที่ได้รับสารปฏิชีวนะในระดับต่ำ ๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายเกิดการดื้อยาปฏิชีวนะนั้น เพราะฉะนั้นการบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีการใช้สารเหล่านี้เข้าไปเป็นประจำ ก็อาจมีผลให้เกิดการดื้อยาปฏิชีวนะในมนุษย์ได้เช่นกัน สิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นแรงผลักดันให้หลายประเทศในตะวันตกนำมาตรการต่าง ๆ มาใช้เป็นกลยุทธ์ป้องกัน เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับสารเหล่านี้ และหนึ่งในนั้นคือ มาตรการห้ามนำเข้าไก่ที่มีการเลี้ยงโดยเติมสารปฏิชีวนะ"



ในเรื่องดังกล่าว ภาคอุตสาหกรรมส่งออกไก่เนื้อของไทย ทั้งในรูปไข่ไก่แช่แข็งและแปรรูป ก็มิได้นิ่งนอนใจ หลายบริษัทเริ่มหันมาศึกษาหาแนวทางในการลดละเลิกการใช้สารปฏิชีวนะเหล่านี้ ซึ่งหนึ่งในคำตอบนี้คือ "สมุนไพร" รศ.ดร. จันทร์จรัส กล่าวว่า งานวิจัยภายใต้ชุดโครงการ "การใช้สมุนไพรในการผลิตสัตว์" โดยการสนับสนุนของ สกว. ที่ผ่านมา ได้พบสมุนไพรหลายตัว เช่น ฟ้าทลายโจร ขมิ้นชัน พริก ใบหรือผลฝรั่งอ่อน มีคุณสมบัติช่วยให้ไก่ที่เลี้ยงไว้มีอัตราการรอด และการเจริญเติบโตไม่แพ้การเลี้ยงโดยเติมสารปฏิชีวนะ ซึ่งสิ่งที่ สกว. กำลังทำอยู่ในปัจจุบันคือ การพยายามหาตัวเลข หรือค่าบางตัวที่จะบอกได้อย่างชัดเจนว่า สมุนไพรมีผลดีต่อสัตว์จริง ในเชิงวิชาการนำปัญหาจากภาคอุตสาหกรรมมาแปลงเป็นโจทย์วิจัย เพื่อให้นักวิจัยสาขาต่าง ๆ ได้ช่วยกันศึกษาและสรุปผล ให้คำตอบที่ถูกต้องแก่ผู้เลี้ยงสัตว์



ศ.ดร. นันทวัน บุณยะประภัคร จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้ประสานงานโครงการชุดนี้ กล่าวว่า จากผลการวิจัยที่ผ่านมา แม้จะพบว่า มีพืชหลายชนิดมีศักยภาพในการนำมาใช้เป็นสารเติมในอาหารสัตว์ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะ หากยังอยู่ในระดับการศึกษาเพื่อดูผลจากการนำไปใช้ แต่สิ่งที่จะดำเนินการต่อในช่วง 2 ปี ข้างหน้านี้ คือการวิจัยเพื่อสร้างระบบในการนำสมุนไพรเหล่านี้มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม



"ขณะนี้ งานวิจัยถึงผลของการใช้พืชเหล่านี้กับกระบวนการออกฤทธิ์ในสัตว์ เช่น ลดความเครียด หรือช่วยในการย่อย ได้ผลในเบื้องต้นแล้วพบว่า การใช้ฟ้าทลายโจร และขมิ้นชัน มีผลในทางบวกต่อไก่อย่างเห็นได้ชัด ส่วนการวิจัยในพืชชนิดอื่น เช่น พริก ใบฝรั่ง กระเทียม ก็ยังพบว่ามีผลต่ออัตราการโตและอัตราการรอดของสัตว์เหล่านี้ และนอกจากงานวิจัยทั้งสองส่วนนี้แล้ว เรายังได้สนับสนุนให้นักเภสัชศาสตร์ทำการวิจัยเพื่อหาวิธีการนำสมุนไพรเหล่านี้ มาทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ง่ายต่อการผสมในอาหาร ที่เก็บได้นาน ทนต่อความชื้น และคงตัวต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งงานนี้จะดำเนินไปพร้อมกับการนำผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปทดสอบใช้กับการเลี้ยงไก่เนื้อและหมู เพื่อหาส่วนผสมที่เหมาะสมที่สุด คุ้มค่าที่สุด ซึ่งคาดว่าภายในปีหน้า จะมีผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรสำหรับการเลี้ยงไก่และสุกรออกมาทดลองตลาดอย่างจริงจัง ซึ่งล่าสุด มีภาคเอกชนแสดงความสนใจจะเข้าร่วมทุนวิจัยและพัฒนาแล้ว



นอกเหนือจากการวิจัยถึงผลการใช้ต่อสัตว์ หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้ว ศ.ดร.นันทวัน กล่าวว่า งานวิจัยอีกส่วนหนึ่งกำลังดำเนินการภายใต้ชุดโครงการวิจัยนี้คือ การวิจัยเพื่อหารูปแบบการปลูกพืชสมุนไพรที่เหมาะสมทั้งระดับเกษตรและระดับอุตสาหกรรมไทย เพราะหากขาดส่วนนี้ไป แม้สมุนไพรชนิดนั้นจะดีอย่างไร หากเราปลูกขึ้นมาไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์ ซึ่งงานวิจัยส่วนนั้นนอกจากช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตสัตว์แล้ว ยังอาจเป็นทางเลือกใหม่ในการประกอบอาชีพของเกษตรกรไทยยุคหน้าได้อีกด้วย



ท่ามกลางปัญหาโรคระบาดไก่ที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน นอกเหนือจากการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว การป้องกันในระยะยาวด้วยการประยุกต์ภูมิปัญญาไทย และภูมิความรู้ด้านสมุนไพร มาใช้ทดแทนสารที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อาจกลายเป็นทางเลือกหรือคำตอบใหม่ของการดูแลสุขภาพไก่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ายิ่งขึ้น



ในปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคที่เกี่ยวกับไก่รุนแรงและสร้างความเสียหายให้กับกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ เป็นอันมาก เกษตรกรบางรายสงสัยว่า ทำวัคซีนแล้วแต่ไก่ก็ยังตายหมดทั้งฟาร์ม ซึ่งกระแสข่าวที่ผ่านมาทำให้คนไทยกลัวที่จะรับประทานไก่ เพราะกลัวโรคระบาดนั้นจะติดต่อมาสู่คน



ส่วนใหญ่การรักษาโรคไก่มักจะใช้กลุ่มยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะกลุ่มของไก่พื้นเมือง ซึ่งอาจมีผลให้เกิดสารตกค้างถึงมนุษย์ และการรักษาดังกล่าวก็อาจทำให้ไก่ที่เหลืออยู่เป็นพาหะของโรคต่อไปหรือส่งผลให้เชื้อโรคที่ยังอยู่มีพัฒนาการต่อก็ได้

ซึ่งล้วนเป็นปัญหาหรือก่อให้เกิดความหวาดกลัวต่อไป



การแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยพืชสมุนไพรเป็นอีกลู่ทางหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจและมีการสนับสนุน เช่น การใช้สมุนไพรฟ้าทลายโจร (Andrographis paniculata Wall. Ex Nees) เป็นพืชสมุนไพรทางการแพทย์ มีส่วนประกอบทางเคมีเป็นสารพวก diterpene lactones ออกฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น Esherichia coli และ Salmonella typhi ยับยั้งเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคทางเดินหายใจ เช่น Staphylococcus aureus และมีสรรพคุณแก้ไข้ แก้หวัด แก้โรคบิด โรคท้องร่วง และแก้แผลบวมอักเสบ

ซึ่งสรรพคุณที่ดีเหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้นในด้านการป้องกันรักษาโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับไก่ เช่น โรคอุจจาระขาว ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียพวก Salmonella pullorum และในปัจจุบัน (ปี 2547) ได้มีโรคระบาดที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระบุว่าเป็นโรคนิวคาสเซิล สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครสวรรค์ระบุว่า เกิดจากโรค แซลโมเนลลา (Salmonellasis) หรือโรคขี้ขาว และโรคอหิวาห์เป็ดไก่ที่ชื่อ Fowl Cholera



ผู้รายงานได้มีโอกาสเข้าศึกษาระดับปริญญาโทที่คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร และทำการศึกษาหาระดับที่เหมาะสมและศึกษาผลของสมุนไพรฟ้าทลายโจร (Andrographis paniculata) ในสูตรอาหารไก่ ต่อประสิทธิภาพการผลิตและลดปัญหาโรคอุจจาระขาวในไก่พื้นเมือง โดยใช้ไก่พื้นเมืองคละเพศ อายุแรกเกิด จำนวน 160 ตัว โดยมี ดร.โอภาส พิมพา และ รศ.เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ภายใต้ทุนสนับสนุนการวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวร



ในการทดลองเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 14 สัปดาห์ ซึ่งในช่วงการทดลองนั้นไก่จะถูกสุ่มแบ่งออกเป็นกลุ่ม จำนวน 16 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัว แต่ละกลุ่มจะถูกสุ่มแบบอิสระ ให้ได้รับอาหารทดลองที่มีสมุนไพรฟ้าทลายโจรในส่วนประกอบมากขึ้น 4 ระดับ คือ 0% 0.5% 1.0% และ 1.5% ในสูตรอาหารตามลำดับ



ไก่แต่ละกลุ่มที่ได้รับอาหารในแต่ละสูตรจะให้กินได้อย่างเต็มที่ เพื่อวัดปริมาณการกินได้ ในแต่ละคอกจะมีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา



ในช่วงสัปดาห์ที่ 8 ครึ่งหนึ่งของไก่ที่ได้รับอาหารทดลองแต่ละสูตร จะถูกสุ่มให้ได้รับเชื้อ Salmonella pullorum ซึ่งเชื้อจะถูกฉีดเข้าปากสู่ทางเดินอาหารโดยตรง



วัดอัตราการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหาร ศึกษาอาการเครียดและเหงาซึม ตลอดทั้งวัดคุณภาพซากเมื่อเลี้ยงครบ 14 สัปดาห์ ซึ่งไก่จะมีอายุ 16 สัปดาห์ จากการศึกษาพบว่าระดับของฟ้าทลายโจรที่เหมาะสมในสูตรอาหารคือ 1.0% เพราะมีผลให้ไก่กินอาหารได้มากที่สุด และมีแนวโน้มให้ไก่มีน้ำหนักตัวสูงที่สุด ตลอดทั้งอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุดด้วย



นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันผลเสียอันเกิดจากเชื้อ Salmonella pullorum ที่มีต่อไก่ เช่น อาการเครียด ส่งผลต่อการกินอาหารที่ลดลงและอัตราการเจริญเติบโตที่ลดลง ซึ่งระดับฟ้าทลายโจร 1.0% ในสูตรอาหารยังสามารถทำให้อัตราการแลกเนื้อดีที่สุดในช่วงที่ไก่ได้รับเชื้อ Salmonella pullorum



สมุนไพรฟ้าทลายโจรในสูตรอาหารจะช่วยทำให้เปอร์เซ็นต์ซากดีขึ้น และมีผลให้เปอร์เซ็นต์เนื้อหน้าอกมากด้วย ซึ่งในไก่พื้นเมืองสามารถย่อยสมุนไพรได้ดีกว่าไก่พันธุ์เนื้อในระบบฟาร์ม



หลังจากเสร็จสิ้นการศึกษาในเดือนพฤศจิกายน 2546 จึงได้ใช้อาหารที่มีระดับฟ้าทลายโจรในสูตรอาหารระดับ 1% เรื่อยมา และหลังจากนั้นไก่ในฟาร์มที่เลี้ยงไม่มีอาการป่วยแสดงให้เห็น รวมทั้งในช่วงที่มีการระบาดที่รุนแรงและเฉียบพลันยังได้นำฟ้าทลายโจรน้ำหนักแห้งจำนวน 10 กรัม ผสมน้ำ 2.5 ลิตร ให้ไก่กินทุกวันอย่างสม่ำเสมอ พบว่าสามารถลดอัตราการตายของไก่พื้นเมืองลูกผสม 5 สายพันธุ์ ลงได้ (มีอัตราการตายประมาณ 7%)



ทั้งนี้ไก่ทุกตัวต้องได้รับการทำวัคซีนตรงตามโปรแกรมที่กรมปศุสัตว์กำหนด จึงได้ทดสอบง่ายๆ ในช่วงที่ 2 โดยเริ่มจากแบ่งไก่ออกเป็น 16 คอก คอกละ 6 ตัว ซึ่งไก่ทุกตัวมีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง หลังจากนั้น ได้นำไก่ชาวบ้านที่ป่วยเป็นโรคระบาดดังกล่าว มาใส่รวมไว้ในคอกที่ 2 ให้น้ำเปล่าตามปกติ



หลังจากนั้นสังเกตอาการป่วย ปรากฏว่าไก่คอกที่ 2 มีอาการป่วยอย่างเห็นได้ชัดเจน จึงเริ่มให้ฟ้าทลายโจรน้ำหนักแห้ง 10 กรัม ผสมน้ำ 2.5 ลิตร ให้ไก่กินตั้งแต่คอกที่ 5-16 ปรากฏว่า ไก่คอกที่ 1-4 ตายหมด คอกที่ 5-16 ไม่ตายและยังมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง



หลังจากนั้นอีก 1 สัปดาห์ หยุดให้ฟ้าทลายโจร และนำน้ำฉีดลงที่พื้นคอกให้เปียกแฉะ (พื้นคอกปูด้วยแกลบ) สังเกตอาการของไก่ที่เหลือพบว่ามีไก่ป่วยแต่อาการไม่รุนแรง จึงให้ฟ้าทลายโจรอีกครั้งหนึ่งผสมลงในน้ำอัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 2.5 ลิตร พบว่าสามารถลดอัตราการตายของไก่พื้นเมืองลูกผสม 5 สายพันธุ์ ลงได้ ซึ่งถ้าหากได้มีการทดลอง วิจัยในระดับที่ละเอียดและชัดเจน อาจจะมีประโยชน์ต่อวงการปศุสัตว์ได้มากขึ้น ดังนั้น การให้อาหารที่มีพืชสมุนไพรฟ้าทลายโจร 1.0% ในสูตรอาหารจึงยังคงสร้างกำไรและลดอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคในฟาร์มได้ และหากเกษตรกรมีการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทลายโจรใช้เองจะทำให้การเลี้ยงไก่ได้กำไรมากยิ่งขึ้น เพราะสมุนไพรฟ้าทลายโจรมีราคาแพง หากจะจัดซื้อมาผสมอาหารไก่เอง ซึ่งมีราคาประมาณ 200 บาท ต่อกิโลกรัม



ยาถ่ายไก่


ยาถ่ายโบราณคนนิยมใช้กันมากมีส่วนผสมดังนี้

1. เกลือประมาณ 1 ช้อนคาว

2. มะขามเปียก 1 หยิบมือ

3. ไพลประมาณ 5 แว่น

4. บอระเพ็ดยาวประมาณ 2 นิ้ว หั่นเป็นแว่นบาง ๆ

5. น้ำตาลปีบประมาณ 1 ช้อนคาว

6. ใบจากเผาไฟเอาถ่าน (ใช้ใบจากประมาณ 1 กำวงแหวน) ใช้ครกตำให้ละเอียดเข้า ด้วยกัน เวลาใช้ยาควรให้ไก่กินเวลาเช้าท้องว่าง

ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดหัวแม่มือ 2 เม็ด ให้น้ำกินมาก ๆ หน่อย แล้วครอบผึ่งแดดไว้รอจนกว่ายาจะออกฤทธิ์ ถ่ายเป็นน้ำ 3 ครั้ง ก็พอแล้วเอาข้าวให้กินเพื่อให้ยาหยุดเดิน



น้ำสำหรับอาบไก่

ปกติไก่เลี้ยงจะต้องอาบน้ำยาจนกว่าไก่จะชน เครื่องยาที่ใส่น้ำต้มมีดังนี้

1. ไพลประมาณ 5 แว่น

2. ใบส้มป่อยประมาณ 1 กำมือ

3. ใบตะไคร้ ต้นตะไคร้ 3 ต้น

4. ใบมะกรูด 5 ใบ

5. ใบมะนาว 5 ใบ

เอา 5 อย่างมารวมกันใส่หม้อต้มให้เดือดแล้วทิ้งไว้ให้อุ่น พออุ่น ๆ แล้วค่อยอาบน้ำไก่ แล้ว นำไปผึ่งแดดให้ขนแห้ง



สมุนไพรเกี่ยวกับโรคผิวหนัง บาดแผล เห็บหมัด ไรไก่

สมุนไพรเดี่ยว

๑.รากหนอนตายอยาก แผลติดเชื้อ มีหนอง มีหนอน ตำให้แหลก พอก หรือคั้นน้ำ ทาแผล

๒. ตะเคียน ต้มเคี่ยวใช้ทาแผล หรือตำให้แหลกแช่น้ำ ใช้แช่เท้าเปื่อย

๓.ประดู่ ต้มเคี่ยวใช้ทาแผล

๔.หนามคนทา ใช้ฝนทาแผล หนอง

๕.ลูกหนามแท่ง ต้มใช้น้ำชะล้างแผล หรือชำระล้าง

๖.ลูกมะคำดีควาย ต้ม ใช้น้ำชำระล้าง

๗.กำมะถันแดง โรยบนเตาไฟใช้รมบาดแผล

๘. หนามกำจาย ฝนทาแผล ติดเชื้อ

๙. เปลือกสีเสียด ต้มเคี่ยว ใช้ล้างแผล แช่เท้าเปื่อย

๑๐. ว่านมหากาฬ ตำพอกแผล

๑๑. ฟ้าทะลายโจร ต้มเคี่ยวใช้ชะล้าง

๑๒. ยาฉุน แช่น้ำ ไล่เห็บ เหา หมัด ไรไก่

๑๓. แมงลักคา ขยี้สดๆวางไว้ในเล้าไก่ไล่ไรไก่



น้ำยาอาบไก่ชน รักษาผิว และทำให้ไก่แข็งแรง

ไม้กระดูกไก่ทั้ง ๒

เปลือกสมอทะเล

ยอดส้มป่อย

ขมิ้น

ใบหนาด

ต้มรวมทั้งหมดเอาน้ำใช้อาบ



ยาประคบไก่รักษาอาการฟกช้ำ และบาดแผล

ไพล

ขมิ้น ( ขมิ้นอ้อย หรือขมิ้นก็ได้ )

ตำใช้ประคบ



พืชสมุนไพรป้องกันหวัดไก่ภูมิปัญญาไทยแท้แต่โบราณ

จาก สถานะการณ์ ไข้หว้กนกที่ผ่านมา

ในขณะที่ฟาร์มไก่เป็นโรค ระบาดตายหมดเล้า แต่เรากลับพบว่า "ฟาร์มไพบูลย์" ตั้งอยู่เลขที่ 23 หมู่ 3 ตำบลบ้านสร้าง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีไก่ไข่ที่เลี้ยงไว้ประมาณ 20,000 ตัว ในพื้นที่ 5 ไร่ กลับไม่ เป็นอะไรเลย ยังมีอาการปกติดีทุกอย่างไพบูลย์ รักษาพงษ์พานิชย์ อายุ 55 ปีเจ้าของฟาร์มไก่ไข่ เล่าว่า เขามีเทคนิคในการเลี้ยงไก่ ที่ไม่เหมือนกับฟาร์มอื่นๆ กล่าวคือเขาได้ใช้สมุนไพรไทย เข้ามาช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับไก่ไข่ภายในเล้า โดยเคล็ดลับ ในการเลี้ยง และดูแลรักษาไก่ ให้มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคระบาด โดยเฉพาะโรคไข้หวัด และโรคอหิวาต์นั้น ใช้ ฟ้าทะลายโจรผง และบอระเพ็ดผสมให้ไก่กิน ซึ่งฟ้าทะลายโจรนี้ใช้ได้ทั้งก้าน และใบนำมาบดผสมเข้ากับบอระเพ็ด อัตราส่วนโดยประมาณ ฟ้าทะลายโจร 1 ตัน ผสมบอระเพ็ด 2 กิโลกรัม แล้วนำสมุนไพรที่ว่านี้ผสมลงในอาหารอีกครั้ง อัตราส่วนสมุนไพร 15 กิโลกรัมต่ออาหารไก่ 1,000 กิโลกรัม คลุกเคล้าผสมให้เข้ากัน ก่อนนำเอาไปให้ไก่กินทุกวันฟ้าทะลายโจรจะช่วยในเรื่องของการป้องกันในเรื่องของหวัดไก่และคุมเรื่องโรคอหิวาต์ หรือโรคท้องร่วงที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงหน้าหนาว เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับไก่ ทำให้ไก่มีสุขภาพแข็งแรงไม่เป็นโรคหรือติดโรค ง่ายเวลาที่มีการระบาด เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมานาน และค่อนข้างใช้ได้ผล ซึ่งนอกจากสมุนไพรแล้ว เรื่องของ "น้ำ" ก็สำคัญ เพราะเชื้อมักมากับน้ำ ฉะนั้นการใช้น้ำคลองหรือน้ำบาดาลให้ไก่กิน ควรใส่ยาฆ่าเชื้อพวกคลอรีนหรือเพนนิซิลลินเสียก่อนอีกวิธีที่ใช้กันมานาน ก็คือ การใช้ตะไคร้ วิธีการก็คือนำตะไคร้ทั้งกอมาต้มให้ไก่กินแทนน้ำ (การต้มน้ำก็เป็นการฆ่าเชื้อโรคได้ทางหนึ่ง)



ส่วนไอน้ำตะไคร้ที่ต้มก็ให้ใช้วิธีต่อท่อพ่นเข้าไปในเล้าไก่ แต่ทั้งนี้ต้องทำความสะอาดเล้าไก่ให้ดีเสียก่อน เชื่อว่าเป็นการไล่หวัดไก่ได้ วิธีการนี้เคยใช้เมื่อครั้งเกิดโรคระบาดไก่สมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม แม้เกษตรกรบางรายอาจจะมองว่าเป็นการไปเพิ่มต้นทุน แต่ถ้าสามารถป้องกันโรค และไม่เกิดความเสียหายจากโรคระบาดที่เกิดขึ้นก็ถือว่าคุ้มที่จะลงทุน ตามสำนวนไทยที่ว่า ป้องกันไว้ดีกว่าแก้ แย่แล้วจะแก้ไม่ทัน

แนะใช้ "สมุนไพร" แทนยาปฏิชีวนะ เสริมสร้างสุขภาพ ป้องกันโรคระบาดในไก่



วิจัยพบสมุนไพรหลายชนิด เช่น ฟ้าทลายโจร ขมิ้นชัน พริก ฝรั่ง มีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกันโรคติดต่อในไก่ สามารถใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะที่กำลังเป็นปัญหาในการส่งออกได้ สกว. หนุนวิจัยเชิงลึก ทั้งสร้างมาตรฐานการใช้สมุนไพร การผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ รวมถึงวิธีการปลูก ที่นอกจากจะช่วยรักษาตลาดส่งออกไก่เนื้อ มูลค่าสี่หมื่นล้านบาทต่อปี และเปิดตลาดอาหารสุขภาพแล้ว ยังเป็นทางเลือกใหม่ให้เกษตรกรไทยที่จะหันมายึดอาชีพปลูกสมุนไพรอีกด้วย



หนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ก็คือ "โรคระบาด" เพราะทุกครั้งที่มีโรคระบาดเกิดขึ้นจะสร้างความสูญเสียกับผู้เลี้ยงเป็นอย่างมาก และเป็นการยากที่จะป้องกันไม่ให้โรคลุกลามไปยังไก่ที่เหลือในเล้าและฟาร์มใกล้เคียง ดังที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่หลายจังหวัดในขณะนี้



สาเหตุสำคัญของการระบาดก็คือ สภาพของการเลี้ยงไก่จำนวนมากในพื้นที่น้อย ๆ ซึ่งนอกจากสร้างความเครียดให้กับไก่แล้ว ยังทำให้ไก่กินอาหารน้อยลงและมีภูมิต้านทานโรคลดต่ำลง จนเป็นเหตุให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย ซึ่งแนวทางหนึ่งในการดูแลสุขภาพไก่ก็คือ การใช้ยาหรือสารปฏิชีวนะผสมในน้ำหรืออาหารที่ไก่กิน เพื่อช่วยลดความเครียดและกินอาหารได้มากขึ้น ซึ่งทำให้ภูมิต้านทานโรคดีขึ้น



น.สพ.ยุคล ลิ้มแหลมทอง อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในการประชุมวิชาการ "สมุนไพรไทย : โอกาสและทางเลือกใหม่ ของอุตสาหกรรมผลิตสัตว์ ครั้งที่ 2 " ว่าขณะนี้นโยบายของกระทรวงเกษตรฯ คือ การสร้างความปลอดภัยด้านอาหารเพื่อผู้บริโภคในประเทศและการส่งออก แต่ปัจจุบันยังมีการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหาร เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของไก่อยู่ค่อนข้างมาก แต่ขณะเดียวกันมีการศึกษาวิจัยในด้านการใช้สมุนไพรอย่างจริงจังในหลายหน่วยงาน ซึ่งหากพบว่าสามารถใช้ทดแทนได้จริง ทางกระทรวงโดยกรมปศุสัตว์ก็พร้อมให้การสนับสนุน



"สมุนไพรเป็นทางเลือกใหม่ในอุตสาหกรรมผลิตสัตว์ ในการแก้ปัญหาการตกค้างของสารต่าง ๆ ซึ่งขณะนี้มีงานวิจัยอยู่มากพอสมควร และเราได้กำหนดมาตรการการเลี้ยงสัตว์ในบ้านเราให้ยาปฏิชีวนะน้อยที่สุด หากใช้ ต้องใช้เพื่อการรักษาเท่านั้น และหากจะใช้ต้องมีระยะหยดยาด้วย ซึ่งทำให้สมุนไพรอาจเป็นคำตอบของเรื่องนี้ก็ได้ และหากมีงานวิจัยที่ยืนยันได้ว่าใช้สมุนไพรแทนได้จริงทั้งเรื่องประสิทธิภาพและความคุ้มค่า เราก็พร้อมสนับสนุน เพราะจะมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะตลาดสินค้าอินทรีย์ที่ยุโรป ซึ่งเขาต้องการสินค้าพวกนี้ โดยไม่เกี่ยงเรื่องราคา



รศ.ดร.จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ ผู้อำนวยการฝ่ายเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว. กล่าวเสริมว่า การใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ไม่ได้รับการยอมรับจากตลาดต่างประเทศ เนื่องจากเกรงผลตกค้างที่อาจทำให้เกิดการดื้อยาในผู้บริโภค โดยหลังปี 2006 สหภาพยุโรปจะห้ามใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อเร่งการเจริญเติบโตในสัตว์ทุกชนิด รวมถึงไก่เนื้อส่งออกของไทย ที่ขณะนี้ส่งออกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีมูลค่าส่งออกทั่วโลกกว่าสี่หมื่นล้านบาทในปี 2546 ภาคอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ของไทยจึงต้องเตรียมความพร้อมและปรับตัวเพื่อรับมาตรการดังกล่าว เพราะมาตรฐานด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคทุกประเทศจะมีแนวโน้มไปในทางเดียวกัน



"ปัญหาคือ มีรายงานในยุโรปพบว่า สัตว์ที่ได้รับสารปฏิชีวนะในระดับต่ำ ๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายเกิดการดื้อยาปฏิชีวนะนั้น เพราะฉะนั้นการบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีการใช้สารเหล่านี้เข้าไปเป็นประจำ ก็อาจมีผลให้เกิดการดื้อยาปฏิชีวนะในมนุษย์ได้เช่นกัน สิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นแรงผลักดันให้หลายประเทศในตะวันตกนำมาตรการต่าง ๆ มาใช้เป็นกลยุทธ์ป้องกัน เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับสารเหล่านี้ และหนึ่งในนั้นคือ มาตรการห้ามนำเข้าไก่ที่มีการเลี้ยงโดยเติมสารปฏิชีวนะ"



ในเรื่องดังกล่าว ภาคอุตสาหกรรมส่งออกไก่เนื้อของไทย ทั้งในรูปไข่ไก่แช่แข็งและแปรรูป ก็มิได้นิ่งนอนใจ หลายบริษัทเริ่มหันมาศึกษาหาแนวทางในการลดละเลิกการใช้สารปฏิชีวนะเหล่านี้ ซึ่งหนึ่งในคำตอบนี้คือ "สมุนไพร" รศ.ดร. จันทร์จรัส กล่าวว่า งานวิจัยภายใต้ชุดโครงการ "การใช้สมุนไพรในการผลิตสัตว์" โดยการสนับสนุนของ สกว. ที่ผ่านมา ได้พบสมุนไพรหลายตัว เช่น ฟ้าทลายโจร ขมิ้นชัน พริก ใบหรือผลฝรั่งอ่อน มีคุณสมบัติช่วยให้ไก่ที่เลี้ยงไว้มีอัตราการรอด และการเจริญเติบโตไม่แพ้การเลี้ยงโดยเติมสารปฏิชีวนะ ซึ่งสิ่งที่ สกว. กำลังทำอยู่ในปัจจุบันคือ การพยายามหาตัวเลข หรือค่าบางตัวที่จะบอกได้อย่างชัดเจนว่า สมุนไพรมีผลดีต่อสัตว์จริง ในเชิงวิชาการนำปัญหาจากภาคอุตสาหกรรมมาแปลงเป็นโจทย์วิจัย เพื่อให้นักวิจัยสาขาต่าง ๆ ได้ช่วยกันศึกษาและสรุปผล ให้คำตอบที่ถูกต้องแก่ผู้เลี้ยงสัตว์



ศ.ดร. นันทวัน บุณยะประภัคร จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้ประสานงานโครงการชุดนี้ กล่าวว่า จากผลการวิจัยที่ผ่านมา แม้จะพบว่า มีพืชหลายชนิดมีศักยภาพในการนำมาใช้เป็นสารเติมในอาหารสัตว์ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะ หากยังอยู่ในระดับการศึกษาเพื่อดูผลจากการนำไปใช้ แต่สิ่งที่จะดำเนินการต่อในช่วง 2 ปี ข้างหน้านี้ คือการวิจัยเพื่อสร้างระบบในการนำสมุนไพรเหล่านี้มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม



"ขณะนี้ งานวิจัยถึงผลของการใช้พืชเหล่านี้กับกระบวนการออกฤทธิ์ในสัตว์ เช่น ลดความเครียด หรือช่วยในการย่อย ได้ผลในเบื้องต้นแล้วพบว่า การใช้ฟ้าทลายโจร และขมิ้นชัน มีผลในทางบวกต่อไก่อย่างเห็นได้ชัด ส่วนการวิจัยในพืชชนิดอื่น เช่น พริก ใบฝรั่ง กระเทียม ก็ยังพบว่ามีผลต่ออัตราการโตและอัตราการรอดของสัตว์เหล่านี้ และนอกจากงานวิจัยทั้งสองส่วนนี้แล้ว เรายังได้สนับสนุนให้นักเภสัชศาสตร์ทำการวิจัยเพื่อหาวิธีการนำสมุนไพรเหล่านี้ มาทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ง่ายต่อการผสมในอาหาร ที่เก็บได้นาน ทนต่อความชื้น และคงตัวต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งงานนี้จะดำเนินไปพร้อมกับการนำผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปทดสอบใช้กับการเลี้ยงไก่เนื้อและหมู เพื่อหาส่วนผสมที่เหมาะสมที่สุด คุ้มค่าที่สุด ซึ่งคาดว่าภายในปีหน้า จะมีผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรสำหรับการเลี้ยงไก่และสุกรออกมาทดลองตลาดอย่างจริงจัง ซึ่งล่าสุด มีภาคเอกชนแสดงความสนใจจะเข้าร่วมทุนวิจัยและพัฒนาแล้ว



นอกเหนือจากการวิจัยถึงผลการใช้ต่อสัตว์ หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้ว ศ.ดร.นันทวัน กล่าวว่า งานวิจัยอีกส่วนหนึ่งกำลังดำเนินการภายใต้ชุดโครงการวิจัยนี้คือ การวิจัยเพื่อหารูปแบบการปลูกพืชสมุนไพรที่เหมาะสมทั้งระดับเกษตรและระดับอุตสาหกรรมไทย เพราะหากขาดส่วนนี้ไป แม้สมุนไพรชนิดนั้นจะดีอย่างไร หากเราปลูกขึ้นมาไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์ ซึ่งงานวิจัยส่วนนั้นนอกจากช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตสัตว์แล้ว ยังอาจเป็นทางเลือกใหม่ในการประกอบอาชีพของเกษตรกรไทยยุคหน้าได้อีกด้วย



ท่ามกลางปัญหาโรคระบาดไก่ที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน นอกเหนือจากการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว การป้องกันในระยะยาวด้วยการประยุกต์ภูมิปัญญาไทย และภูมิความรู้ด้านสมุนไพร มาใช้ทดแทนสารที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อาจกลายเป็นทางเลือกหรือคำตอบใหม่ของการดูแลสุขภาพไก่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ายิ่งขึ้น



ในปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคที่เกี่ยวกับไก่รุนแรงและสร้างความเสียหายให้กับกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ เป็นอันมาก เกษตรกรบางรายสงสัยว่า ทำวัคซีนแล้วแต่ไก่ก็ยังตายหมดทั้งฟาร์ม ซึ่งกระแสข่าวที่ผ่านมาทำให้คนไทยกลัวที่จะรับประทานไก่ เพราะกลัวโรคระบาดนั้นจะติดต่อมาสู่คน



ส่วนใหญ่การรักษาโรคไก่มักจะใช้กลุ่มยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะกลุ่มของไก่พื้นเมือง ซึ่งอาจมีผลให้เกิดสารตกค้างถึงมนุษย์ และการรักษาดังกล่าวก็อาจทำให้ไก่ที่เหลืออยู่เป็นพาหะของโรคต่อไปหรือส่งผลให้เชื้อโรคที่ยังอยู่มีพัฒนาการต่อก็ได้

ซึ่งล้วนเป็นปัญหาหรือก่อให้เกิดความหวาดกลัวต่อไป



การแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยพืชสมุนไพรเป็นอีกลู่ทางหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจและมีการสนับสนุน เช่น การใช้สมุนไพรฟ้าทลายโจร (Andrographis paniculata Wall. Ex Nees) เป็นพืชสมุนไพรทางการแพทย์ มีส่วนประกอบทางเคมีเป็นสารพวก diterpene lactones ออกฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น Esherichia coli และ Salmonella typhi ยับยั้งเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคทางเดินหายใจ เช่น Staphylococcus aureus และมีสรรพคุณแก้ไข้ แก้หวัด แก้โรคบิด โรคท้องร่วง และแก้แผลบวมอักเสบ

ซึ่งสรรพคุณที่ดีเหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้นในด้านการป้องกันรักษาโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับไก่ เช่น โรคอุจจาระขาว ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียพวก Salmonella pullorum และในปัจจุบัน (ปี 2547) ได้มีโรคระบาดที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระบุว่าเป็นโรคนิวคาสเซิล สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครสวรรค์ระบุว่า เกิดจากโรค แซลโมเนลลา (Salmonellasis) หรือโรคขี้ขาว และโรคอหิวาห์เป็ดไก่ที่ชื่อ Fowl Cholera



ผู้รายงานได้มีโอกาสเข้าศึกษาระดับปริญญาโทที่คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร และทำการศึกษาหาระดับที่เหมาะสมและศึกษาผลของสมุนไพรฟ้าทลายโจร (Andrographis paniculata) ในสูตรอาหารไก่ ต่อประสิทธิภาพการผลิตและลดปัญหาโรคอุจจาระขาวในไก่พื้นเมือง โดยใช้ไก่พื้นเมืองคละเพศ อายุแรกเกิด จำนวน 160 ตัว โดยมี ดร.โอภาส พิมพา และ รศ.เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ภายใต้ทุนสนับสนุนการวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวร



ในการทดลองเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 14 สัปดาห์ ซึ่งในช่วงการทดลองนั้นไก่จะถูกสุ่มแบ่งออกเป็นกลุ่ม จำนวน 16 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัว แต่ละกลุ่มจะถูกสุ่มแบบอิสระ ให้ได้รับอาหารทดลองที่มีสมุนไพรฟ้าทลายโจรในส่วนประกอบมากขึ้น 4 ระดับ คือ 0% 0.5% 1.0% และ 1.5% ในสูตรอาหารตามลำดับ



ไก่แต่ละกลุ่มที่ได้รับอาหารในแต่ละสูตรจะให้กินได้อย่างเต็มที่ เพื่อวัดปริมาณการกินได้ ในแต่ละคอกจะมีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา



ในช่วงสัปดาห์ที่ 8 ครึ่งหนึ่งของไก่ที่ได้รับอาหารทดลองแต่ละสูตร จะถูกสุ่มให้ได้รับเชื้อ Salmonella pullorum ซึ่งเชื้อจะถูกฉีดเข้าปากสู่ทางเดินอาหารโดยตรง



วัดอัตราการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหาร ศึกษาอาการเครียดและเหงาซึม ตลอดทั้งวัดคุณภาพซากเมื่อเลี้ยงครบ 14 สัปดาห์ ซึ่งไก่จะมีอายุ 16 สัปดาห์ จากการศึกษาพบว่าระดับของฟ้าทลายโจรที่เหมาะสมในสูตรอาหารคือ 1.0% เพราะมีผลให้ไก่กินอาหารได้มากที่สุด และมีแนวโน้มให้ไก่มีน้ำหนักตัวสูงที่สุด ตลอดทั้งอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุดด้วย



นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันผลเสียอันเกิดจากเชื้อ Salmonella pullorum ที่มีต่อไก่ เช่น อาการเครียด ส่งผลต่อการกินอาหารที่ลดลงและอัตราการเจริญเติบโตที่ลดลง ซึ่งระดับฟ้าทลายโจร 1.0% ในสูตรอาหารยังสามารถทำให้อัตราการแลกเนื้อดีที่สุดในช่วงที่ไก่ได้รับเชื้อ Salmonella pullorum



สมุนไพรฟ้าทลายโจรในสูตรอาหารจะช่วยทำให้เปอร์เซ็นต์ซากดีขึ้น และมีผลให้เปอร์เซ็นต์เนื้อหน้าอกมากด้วย ซึ่งในไก่พื้นเมืองสามารถย่อยสมุนไพรได้ดีกว่าไก่พันธุ์เนื้อในระบบฟาร์ม



หลังจากเสร็จสิ้นการศึกษาในเดือนพฤศจิกายน 2546 จึงได้ใช้อาหารที่มีระดับฟ้าทลายโจรในสูตรอาหารระดับ 1% เรื่อยมา และหลังจากนั้นไก่ในฟาร์มที่เลี้ยงไม่มีอาการป่วยแสดงให้เห็น รวมทั้งในช่วงที่มีการระบาดที่รุนแรงและเฉียบพลันยังได้นำฟ้าทลายโจรน้ำหนักแห้งจำนวน 10 กรัม ผสมน้ำ 2.5 ลิตร ให้ไก่กินทุกวันอย่างสม่ำเสมอ พบว่าสามารถลดอัตราการตายของไก่พื้นเมืองลูกผสม 5 สายพันธุ์ ลงได้ (มีอัตราการตายประมาณ 7%)



ทั้งนี้ไก่ทุกตัวต้องได้รับการทำวัคซีนตรงตามโปรแกรมที่กรมปศุสัตว์กำหนด จึงได้ทดสอบง่ายๆ ในช่วงที่ 2 โดยเริ่มจากแบ่งไก่ออกเป็น 16 คอก คอกละ 6 ตัว ซึ่งไก่ทุกตัวมีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง หลังจากนั้น ได้นำไก่ชาวบ้านที่ป่วยเป็นโรคระบาดดังกล่าว มาใส่รวมไว้ในคอกที่ 2 ให้น้ำเปล่าตามปกติ



หลังจากนั้นสังเกตอาการป่วย ปรากฏว่าไก่คอกที่ 2 มีอาการป่วยอย่างเห็นได้ชัดเจน จึงเริ่มให้ฟ้าทลายโจรน้ำหนักแห้ง 10 กรัม ผสมน้ำ 2.5 ลิตร ให้ไก่กินตั้งแต่คอกที่ 5-16 ปรากฏว่า ไก่คอกที่ 1-4 ตายหมด คอกที่ 5-16 ไม่ตายและยังมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง



หลังจากนั้นอีก 1 สัปดาห์ หยุดให้ฟ้าทลายโจร และนำน้ำฉีดลงที่พื้นคอกให้เปียกแฉะ (พื้นคอกปูด้วยแกลบ) สังเกตอาการของไก่ที่เหลือพบว่ามีไก่ป่วยแต่อาการไม่รุนแรง จึงให้ฟ้าทลายโจรอีกครั้งหนึ่งผสมลงในน้ำอัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 2.5 ลิตร พบว่าสามารถลดอัตราการตายของไก่พื้นเมืองลูกผสม 5 สายพันธุ์ ลงได้ ซึ่งถ้าหากได้มีการทดลอง วิจัยในระดับที่ละเอียดและชัดเจน อาจจะมีประโยชน์ต่อวงการปศุสัตว์ได้มากขึ้น ดังนั้น การให้อาหารที่มีพืชสมุนไพรฟ้าทลายโจร 1.0% ในสูตรอาหารจึงยังคงสร้างกำไรและลดอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคในฟาร์มได้ และหากเกษตรกรมีการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทลายโจรใช้เองจะทำให้การเลี้ยงไก่ได้กำไรมากยิ่งขึ้น เพราะสมุนไพรฟ้าทลายโจรมีราคาแพง หากจะจัดซื้อมาผสมอาหารไก่เอง ซึ่งมีราคาประมาณ 200 บาท ต่อกิโลกรัม

การเลี้ยงไก่ชน

วิธีการเลี้ยงไก่สำหรับชน








การเลี้ยงไก่สำหรับชนนั้น มีหลายอย่างหลายชนิดแล้วแต่ครูบาอาจารย์ใดจะสั่งสอนมา

แต่ที่จะนำมากล่าวนี้เป็นที่นิยมมากที่สุด

ระยะการปล้ำและทำตัวไก่หนุ่ม

ไก่หนุ่มที่จะเริ่มเลี้ยงครั้งแรก ต้องลงขมิ้นให้ทั่วทั้งตัวเสียก่อน เพื่อสะดวกในการอาบน้ำ

และป้องกันไรได้ดีอีกด้วย

ก. เริ่มอาบน้ำเวลาเช้าทุกวัน ควรใช้ผ้าประคบหน้าทุกครั้งที่มีการอาบน้ำ

ลงกระเบื้อง เนื้อตัวบาง ๆ แล้วลงขมิ้นตามเนื้อบาง ๆ แล้วนำไปผึ่งแดด พอรู้ว่าหอบก็นำไก่เข้าร่ม

อย่าให้กินน้ำจนกว่าจะหายหอบจึงจะให้กินน้ำได้ไก่ผอมไม่ควรผึ่งแดดให้มากเพราะจะทำให้ผอมมากไปอีก ถ้าอ้วนเกินไปต้องผึ่งแดดให้มากสักหน่อย เพราะจะทำให้น้ำหนักลดลงได้ ควรคุมน้ำหนักทุกครั้งที่มีการซ้อม และการเลี้ยงทุกวันตอนเช้า

ข. อาบน้ำประมาณ 7 วัน แล้วจึงเริ่มซ้อมครั้งแรกสัก 2 ยก ๆ ละไม่เกิน 12 นาที ซ้อมสัก 3 ครั้ง ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3 ซ้อมยกละ 15 นาที รวมแล้วให้ได้ 6 ยก ระยะการปล้ำแต่ละครั้งควรจะมีเวลาห่างกันประมาณ 10 -15 วันพอครบกำหนดแล้วต้องถ่ายยาตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว

วิธีล่อ

เวลาประมาณบ่าย 2 โมงเย็น เอาน้ำเช็ดตัวไก่ที่เลี้ยงเล็กน้อย แล้วเอาไก่ที่เป็นไก่ล่อ

จะเป็นการล่อทางตรงหรือทางอ้อมก็แล้วแต่สะดวก แล้วล่อไก่ให้ย้าย คือเอาไก่ล่อ ๆ วนไปข้างซ้าย 10 รอบ เย้ายวนไปทางขวา 10 รอบ

ย้ายจนกว่าไก่ตัวถูกล่อจะไม่ล้มจึงจะใช้ได้ แล้วล่อให้ไก่บินบ้าง ล่อประมาณ 20 - 25 นาทีก็พอ

พอเสร็จจากการล่อเอาขนไก่ปั้นคอ พอหายเหนื่อยแล้วอาบน้ำได้ เสร็จแล้วผึ่งแดดให้ขนแห้งแล้วกินอาหารได้

การใช้ขมิ้น

ทุกครั้งเวลาอาบน้ำไก่ในตอนเช้า ต้องใช้กระเบื้องอุ่น ๆ ประคบหน้าพอสมควร

ถ้ามากนักจะทำให้หน้าเปื่อย แล้วทาขมิ้นบาง ๆ ทุกครั้ง บางคนใช้ทาเฉพาะหน้าอก ขา ใต้ปีก ตามเนื้อเท่านั้น (ใช้ได้เหมือนกัน)

การปล่อยไก่

ไก่ที่เลี้ยงไว้ชนพอเวลาแดดอ่อนๆควรได้ปล่อยไก่ให้เดินตามสนามหญ้าแพรกนอกจากจะให้ไก่ได้เดินขยายตัวแล้ว ไก่ยังมีโอกาสได้กินหญ้าไปในตัวด้วย

วิธีแก้ไขให้น้ำหนักตัวลด

เวลาไก่ชนที่เลี้ยงอ้วนเกินไปน้ำหนักตัวจะมากบินไม่ขึ้น ควรผึ่งแดดให้หอบนาน ๆ หากไก่ผอมมากไปไม่ควรให้ถูกแดดมากเกินไป

เวลานอนควรให้นอนบนกาบกล้วย หรือเอาน้ำเย็นเช็ดตัวบาง ๆ ก่อนนอน การนอนควรนอนในมุ้งทุกคืนเพื่อมิให้ยุงไปรบกวน ไก่จะได้นอนหลับสบาย

การเลี้ยงไก่ถ่าย

การเลี้ยงไก่ถ่าย หรือไก่ที่เปลี่ยนขนตั้งแต่หนึ่งครั้งขึ้นไป วิธีเลี้ยงเช่นเดียวกับไก่หนุ่ม ผิดกันตรงที่ไก่ถ่ายต้องปล้ำให้ได้ที่ คือปล้ำครั้งละ

2 ยก ยกละ 15 นาที จำนวน 5 ครั้ง รวม 10 ยก หรือปล้ำจนกว่าจะบินไม่ล้ม แล้วผึ่งแดดให้นานกว่าไก่หนุ่มหน่อย นอกนั้นเหมือนกันหมด

ยาถ่ายไก่

ยาถ่ายโบราณคนนิยมใช้กันมากมีส่วนผสมดังนี้

1. เกลือประมาณ 1 ช้อนคาว

2. มะขามเปียก 1 หยิบมือ

3. ไพลประมาณ 5 แว่น

4. บอระเพ็ดยาวประมาณ 2 นิ้ว หั่นเป็นแว่นบาง ๆ

5. น้ำตาลปีบประมาณ 1 ช้อนคาว

6. ใบจากเผาไฟเอาถ่าน (ใช้ใบจากประมาณ 1 กำวงแหวน) ใช้ครกตำให้ละเอียดเข้า ด้วยกัน เวลาใช้ยาควรให้ไก่กินเวลาเช้าท้องว่าง

ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดหัวแม่มือ 2 เม็ด ให้น้ำกินมาก ๆ หน่อย แล้วครอบผึ่งแดดไว้รอจนกว่ายาจะออกฤทธิ์ ถ่ายเป็นน้ำ 3 ครั้ง ก็พอแล้วเอาข้าวให้กินเพื่อให้ยาหยุดเดิน

น้ำสำหรับอาบไก่

ปกติไก่เลี้ยงจะต้องอาบน้ำยาจนกว่าไก่จะชน เครื่องยาที่ใส่น้ำต้มมีดังนี้

1. ไพลประมาณ 5 แว่น

2. ใบส้มป่อยประมาณ 1 กำมือ

3. ใบตะไคร้ ต้นตะไคร้ 3 ต้น

4. ใบมะกรูด 5 ใบ

5. ใบมะนาว 5 ใบ

เอา 5 อย่างมารวมกันใส่หม้อต้มให้เดือดแล้วทิ้งไว้ให้อุ่น พออุ่น ๆ แล้วค่อยอาบน้ำไก่ แล้ว นำไปผึ่งแดดให้ขนแห้ง








ยาบำรุงกำลังไก่

ยาบำรุงที่นิยมกันมากมีหลายขนาน แต่จะยกมาขนานเดียว คือ

1. ปลาช่อนใหญ่ย่างไฟ แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง 1 ตัว

2. กระชายหัวแก่ ๆ ประมาณ 2 ขีด (แห้ง)

3. กระเทียมแห้ง 1 ขีด

4. พริกไทย 20 เม็ด

5. บอระเพ็ดแห้ง 1 ขีด

6. นกกระจอก 7 ตัว

7. หัวแห้วหมู 1 ขีด

8. ยาดำพอประมาณ

นกกระจอกนำไปย่างไฟแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง แล้วนำไปตำให้ป่น ปลาช่อนก็ตำให้ป่น แล้วนำทั้ง 8 อย่างมาผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนเท่าเม็ดพุทราให้กินวันละ1 เม็ดก่อนนอนทุกวันจนกว่าไก่จะชน

ยาบางตำราไม่เหมือนกันแต่ได้ผลดีทั้งนั้น แต่ไปแพ้กันตรงที่ไก่เก่งไม่เก่งเท่านั้น

ไก่ที่นำไปชนทุกครั้งถ้าไม่ได้ชน กลับมาจะต้องฉะหน้าถอนแข้งทุกครั้ง ๆ ละ 5 นาที 1 ครั้ง ก่อนจะนำไปชนต่ออีก




วิธีให้น้ำไก่ขณะกำลังชน

การใช้น้ำไก่เป็นสิ่งจำเป็นในการชนไก่เป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าท่านให้น้ำไก่ไม่เป็น

เอาไก่ไปชนโอกาสแพ้มีมาก มือน้ำเท่านั้นเป็นผู้ชี้ชะตาไก่ของท่าน เพราะฉะนั้นท่านต้องเป็นคนให้น้ำไก่เก่งๆ จึงจะสู้เขาได้

วิธีให้น้ำไก่ก่อนชน

ท่านต้องใช้ผ้ามุ้งบาง ๆ ชุบน้ำเช็ดตัวให้ทั่วตัวทุกเส้นขน แต่อย่างให้ปีกเปียก (เพราะปีกเป็นอุปกรณ์สำคัญในการต่อสู้)

แล้วเช็ดให้แห้ง ให้กินข้าวสุก จนอิ่มแล้วปล่อยให้เดินเพื่อจะได้ขยายตัว และแต่งตัวเรียบร้อยแล้วนำไก่เข้าชน

พอหมดยกที่ 1

เอาผ้าชุบน้ำเช็ดหน้าอก และใต้ปีกเสียก่อนจึงค่อยเช็ดตามตัวให้ทั่ว แล้วตรวจบาดแผลตามหัว ตามตัวว่ามีผิดปกติหรือเปล่า

ตรวจดูตา ตรวจดูปากให้เรียบร้อย ถ้าปากฮ้อ ก็เตรียมผูก ถ้าตาหรี่ก็ควรเสนียดตา หรือถ่างตา เสร็จเรียบร้อยแล้วให้กินข้าวสุกที่บดไว้

ประมาณ 3 - 4 ก้อน แตงกวาแช่น้ำมะพร้าวอ่อน พอให้อิ่มแล้วเอาไก่นอน ๆ ประมาณ 5 นาที

หลังจากนอนเสร็จเรียบร้อยแล้ว เอากระเบื้องอุ่นมาเช็ดตามตัว ตามหน้าแข้ง

ขาให้ทั่วบริเวณที่ถูกตี แล้วปล่อยให้เดิน และให้ไก่ถ่ายออกมาเพื่อจะได้ให้ตัวเบา (ยกต่อไปก็ทำเหมือนยกที่ 1 จนกว่าจะแพ้ ชนะกัน)



วิธีรักษาพยาบาลหลังจากไก่ชนแล้ว



ตามปกติไก่ที่ชนมาแล้วจะมีบาดแผลมากน้อยแล้วแต่กำหนดเวลาการต่อสู้ บางตัวก็ชนะเร็ว

บางตัวก็ชนะช้าบาดแผลก็มีมาก เวลาชนเสร็จแล้วควรใช้เพนนิซิลิน อย่างเป็นหลอดทาตามหน้าให้ทั่ว

เพื่อไม่ให้หน้าตึง อย่าใช้ขมิ้นเป็นอันขาด ถ้าบาดแผลมากจริงควรใช้ยาพวกสเตปโตมัยซิน

หรือฉีดยาเทอรามัยซิน หรือจะให้กินยาเต็ดตร้าไซคลินก็ได้ วันละ 1 เม็ด ตอนเย็น

ประการสำคัญ อย่าให้ทับตัวเมียเป็นอันขาด หลังจาก 1 เดือนไปแล้วให้ทับได้